การผ่าตัดกระดูกสันหลัง เรื่องใกล้ตัว ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

กรมการแพทย์เผยรายงานสถิติของผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังเสื่อม 8,763 ราย ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี และเข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง 810 ราย ด้านโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง เอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ พบว่า มีผู้ป่วยเข้ามารับการรักษามากกว่าหมื่นรายตั้งแต่ พ.ศ. 2561 โดยเข้ารับการผ่าตัดมากกว่าห้าพันราย

โรคกระดูกสันหลังเสื่อมจะเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่อายุประมาณ 25 ปี และเสื่อมมากขึ้นตามอายุ โดยส่วนใหญ่จะปัญหาในช่วงอายุ 35 ถึง 50 ปี และพบที่บริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอว L4-L5 มากที่สุด

จากการสอบถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง สาเหตุของโรคเกิดจากในอดีตมนุษย์นั้นเป็นสัตว์สี่เท้ามาก่อน และได้มีวิวัฒนาการจนทำให้มนุษย์เริ่มยืนด้วย 2 ขาจากที่แนวกระดูกสันหลังที่เคยอยู่ แนวนอน กลับตั้งตรงทำให้เกิดแรงกดระหว่างข้อต่อกระดูกสันหลัง โดยมีหมอนรองกระดูกเป็นตัวรับน้ำหนักคล้ายกับโช๊คอัพรถยนต์ จึงทำให้กระดูกสันหลังรับแรงกดมากกว่าเดิมหลายเท่า เป็นสาเหตุที่ทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมง่ายโดยลักษณะการเกิดของโรคกระดูกทับเส้นประสาทมีอยู่ 2 แบบดังนี้

  1. กระดูกเสื่อมและเคลื่อนออกมาจากแนว (Spondylolisthesis) จนทำให้กระดูกทับเส้นประสาท
  2. กระดูกเสื่อมและกดทับหมอนรองกระดูกเป็นเหตุทำให้หมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาท
ปัจจัยของกระดูกเสื่อมที่ทำให้กระดูกทับเส้นประสาท

จากผลสำรวจในปี พ.ศ. 2552 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า นักเรียน และคนวัยทำงานที่มีอายุ 15-59 ปี จาก 1,000 คน พบว่ามีอาการปวดหลัง 309 คน สาเหตุเกิดจากอิริยาบถที่ไม่ถูกต้อง ท่าทางที่ไม่เหมาะสมเช่น การก้มๆเงยๆยืน การยกของหนักการบิดตัว เอี้ยวตัวอยู่ ตลอดเวลา และนั่งทำงานเป็นเวลานาน พฤติกรรมเหล่านี้คือตัวเร่งทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมก่อนเวลาอันควร

ทั้งนี้ยังมีพฤติกรรมที่ทำให้กระดูกสันหลังเสื่อม ได้แก่การเสื่อมตามอายุของกระดูกสันหลังการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงขาดการออกกำลังกายทำให้เกิดโรคอ้วนที่เป็นสาเหตุทำให้กระดูกสันหลังต้องรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดอาการปวดหลัง นอกจากนี้ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีอาการไอเรื้อรังส่งผลกระทบต่อหมอนรองกระดูกสันหลังเป็นสาเหตุทำให้กระดูกทับเส้นประสาท

การผ่าตัดกระดูกสันหลังเป็นเรื่องง่ายมากกว่าที่คิด

เมื่อผู้ป่วยพบว่าตนเองมีอาการปวดไม่ว่าจะเป็นบริเวณคอ หรือหลัง เช่นปวดหลังร้าวลงขา , ปวดคอร้าวลงแขน ,มีอาการชา หรืออ่อนแรง บางรายปวดศีรษะ คล้ายกับเป็นไมเกรน อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนของโรคกระดูกเสื่อมที่เกิดจากกระดูกทับเส้นประสาท หากจะเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดต้องผ่านการรักษาเบื้องต้นมาก่อนดังนี้

  1. กินยา ทำกายภาพบำบัด นานกว่า 6 สัปดาห์ แต่อาการยังไม่ดีขึ้นหรือไม่สามารถกลับไปดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
  2. ไม่สามารถทนความเจ็บปวดได้
  3. กล้ามเนื้อขาลีบ หรือ แขน-ขาอ่อนแรงจนไม่สามารหยิบจับสิ่งของ ใช้งานได้ไม่เหมือนปกติ หรือเดินไม่ได้
  4. สูญเสียการควบคุมการขับถ่าย

ปัจจุบันการผ่าตัดกระดูกสันหลังไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว ด้วยเทคนิคการรักษาสมัยใหม่ได้พัฒนานวัตกรรมจากการผ่าตัดกระดูกสันหลัง มาเป็นการเจาะรูส่องกล้องซึ่งเทคนิคนี้จะใช้อุปกรณ์ที่มีเลนส์ของกล้องเอนโดสโคป (Endoscopic decompression) ติดอยู่ ที่ปลายกล้อง เปรียบเสมือนดวงตาอยู่ ในตัวผู้ป่วย ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจน แม่นยำ เลือกตัดออกเฉพาะส่วนที่ทำให้เกิดปัญหาได้โดยไม่ต้องตัดเลาะกล้ามเนื้อส่วนที่ดีออก ทำให้แผลเล็กเจ็บน้อย ปลอดภัย ฟื้นตัวเร็ว หรือ MIS-Spine จึงเป็นเรื่องง่ายสำหรับผู้เข้ารับการรักษา เพราะเพียง 1 คืนก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะวินิจฉัยและชี้ให้เห็นรอยโรคด้วยผล x-ray และ MRI ถึงจะวางแผนการรักษาไปพร้อมผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง ตรงจุด แม่นยำ และปลอดภัย

ดังนั้นวิธีการรักษานี้จึงเป็นที่นิยมของผู้ป่วยที่ต้องการกลับไปใช้ชีวิตตาม lifestyle ที่เคยเป็น เช่น กลับไปใช้ใช้ชีวิตกับครอบครัว คนที่รัก หรือทำในสิ่งที่ชอบ สิ่งที่อยากทำ และไม่เป็นภาระให้กับคนใกล้ชิดได้เร็วยิ่งขึ้น

อ้างอิง :
1. กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถิติโรค พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข; 2554.
2. สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำ.นักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการป่วย พ.ศ. 2555. สํานักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2556.

แบ่งปันบทความนี้