หลีกเลี่ยงผ่าตัดกระดูกสันหลัง แก้อาการปวดหลังด้วยเลเซอร์

หลีกเลี่ยงการผ่าตัดกระดูกสันหลัง แก้อาการปวดหลัง ด้วยเทคโนโลยีเลเซอร์หมอนรองกระดูกสันหลัง

โรคปวดหลังนับเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในวัยทำงานและวัยชรา ที่พบได้บ่อยที่สุดในอาการปวดเรื้อรัง บั่นทอนสุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างยิ่ง จนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวัน หรือท่องเที่ยวเดินทางไกลได้อย่างใจคิด สาเหตุของอาการปวดหลังเกิดขึ้นได้หลากหลาย เช่น หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน หมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท หรือการเสื่อมสภาพของข้อต่อกระดูกสันหลัง

• หมอนรองกระดูกปลิ้นคือ?
• MRI แบบยืน ค้นหาสาเหตุของคนปวดหลัง
• ปวดหลัง แต่ทำไมร้าวลงขา

นวัตกรรมใหม่ รักษาโรคปวดหลังปวดคอเรื้อรัง ไม่ต้องผ่าตัดกระดูกสันหลัง

นวัตกรรมใหม่ รักษาโรคปวดหลังปวดคอเรื้อรัง ไม่ต้องผ่าตัดกระดูกสันหลัง
นวัตกรรมใหม่ รักษาโรคปวดหลังปวดคอเรื้อรัง ไม่ต้องผ่าตัดกระดูกสันหลัง

นวัตกรรมทางการแพทย์สมัยใหม่ สำหรับการรักษาโรคปวดหลัง โดยไม่ต้องผ่าตัด อย่างแท้จริง การรักษาโรคปวดหลังโดยไม่ต้องผ่าตัด โดยใช้ Laser ซึ่งมีชื่อเต็มว่า Laser Amplification by Stimulated Emission of Radiation คุณสมบัติของ Laser คือ เป็นแสงที่มีการเบี่ยงเบนน้อยมาก (หักเห, กระจายแสง) ในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้นำ Laser มาพัฒนาใช้เป็นประโยชน์อย่างมากมาย เช่น Compact Disc, DVD players, Laser printer, Pointer และทางการแพทย์ก็ได้นำ Laser มาใช้เป็นประโยชน์ในการรักษา และการผ่าตัด

คุณสมบัติที่ดีของเลเซอร์ในรักษา

  1. ใช้ในการผ่าตัดเนื้อเยื่อ ซึ่งมีความแม่นยำ และขนาดเล็กกว่าใบมีด
  2. เสียเลือดน้อยกว่าการผ่าตัดทั่วไป
  3. การผ่าตัดในที่แคบ เครื่องมือผ่าตัดถึงแม้ว่าจะมีขนาดเล็กแต่ก็ทำได้ยาก แต่การใช้ Laser ตัดในพื้นที่แคบๆ ทำได้ง่ายกว่า
  4. สามารถที่จะทำให้ เนื้อเยื่อบางอย่างที่ต้องการกำจัดระเหยไปจากพลังงานจาก Laser
  5. การผ่าตัดในปัจจุบัน มักจะเป็นการผ่าตัดแผลเล็ก โดยเฉพาะการผ่าตัดผ่านกล้อง Endoscope
  6. การใช้ Laserจะทำงานได้ดีกว่าการใช้เครื่องมือผ่าตัดธรรมดา
หมอนรองกระดูกปลิ้น
หมอนรองกระดูกปลิ้น

การใช้ Laser ช่วยผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลัง สิ่งที่ต้องคำนึงถึง ก็คือ ชนิดของ Laser ที่ใช้ในการผ่าตัดกระดูกสันหลังจะต้องไม่มีความร้อนที่เกิดขึ้นในขณะผ่าตัดมากพอที่จะทำลายเนื้อเยื่ออื่นๆโดยเฉพาะเส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่ง Laserที่ใช้ในทางการแพทย์ มีหลายชนิด แต่ในขณะนี้พบว่า Laserที่ดีและเหมาะที่สุดสำหรับการผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลัง คือ Holmium Yag Laser เพราะพลังงานความร้อนที่กระจายไปในเนื้อเยื่อใกล้เคียง เพียงแค่ 0.2 มิลลิเมตร ดังนั้นโอกาสที่จะกระทบกระเทือนเส้นประสาทจึงน้อยมาก

ในปัจจุบัน การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลัง ทำได้โดยใช้กล้อง Endoscope ส่องผ่านแผลผ่าตัดขนาด 8 มิลลิเมตร และใช้เครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็ก สอดผ่านกล้องเข้าไปทำผ่าตัด ในบางมุมซึ่งเป็นที่แคบอาจจะทำได้ยาก ดังนั้นการใช้ Laser เข้ามาช่วยในการผ่าตัดทำให้ทำได้ง่ายและได้ผลดีมากขึ้น ในปัจจุบัน ในประเทศอเมริกาและในประเทศอื่นๆ มีการใช้ Laser เพื่อผ่าตัดกระดูกสันหลังอย่างแพร่หลาย

– การใช้ Laserเพื่อลดแรงดันในหมอนรองกระดูกเพื่อลดอาการปวดร้าวลงแขนหรือขา

– อาการปวดลงแขนหรือขา ที่เกิดจากการปวดร้าวลงตามแนวเส้นประสาทในกระดูกสันหลัง ที่บริเวณคอหรือหลังสามารถตรวจยืนยันได้จากการตรวจด้วยเครื่องMRIซึ่งการตรวจพบว่ามีการปูดของหมอนรองกระดูกสันหลังไปทับเส้นประสาทมากพอสมควร และรักษาโดยทางยา หรือการทำกายภาพไม่หายแล้วอาจจำเป็นต้องผ่าตัดเอาหมอนรองกระดูกส่วนที่กดทับเส้นประสาทออกไป (Selective Discectomy)

-แต่ในบางกรณี จากการตรวจ MRI มี การกดทับเส้นประสาทไม่มาก การปวดมักเป็นจากแรงดันในหมอนรองกระดูกที่สูงขึ้นมากไปทำให้เกิดการระคายเคืองเส้นประสาท การรักษาโดยการทานยา และการทำกายภาพมักทำให้อาการดีขึ้นหรือหายไปได้

แต่มีอยู่จำนวนไม่น้อยที่อาการปวดร้าวยังคงอยู่ ซึ่งแนวทางการรักษาในปัจจุบันก็คือ การลดแรงดันในหมอนรองกระดูกลง (Disc Decompression) ซึ่งจะทำให้อาการปวดร้าวหายไป โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเอาหมอนรองกระดูกออกไปดังเช่นในอดีต

Laser สามารถที่จะทำให้เกิดพลังงานความร้อน และระเหยน้ำที่เป็นองค์ประกอบในหมอนรองกระดูกออกไป พบว่าจะทำให้แรงดันลดลงอย่างมากมายเพียงแค่สามารถระเหยน้ำ หรือส่วนของหมอนรองกระดูกเพียงแค่ 0.5-1 มิลลิลิตร ก็ทำให้อาการปวดร้าวหายไป

โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังและระบบประสาท แห่งเเรกของประเทศไทย มุ่งเน้นการรักษาโรคที่ต้นเหตุ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย หลีกเลี่ยงการผ่าตัด ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความบอบช้ำน้อยที่สุด ใช้เวลาในการพักฟื้นน้อยที่สุด โดยมาตรฐานระดับสากลมากกว่า 4,000 ราย เรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังและระบบประสาทที่มากไปด้วยองค์ความรู้ และประสบการณ์รักษาผู้ป่วยมาอย่างยาวนาน

แบ่งปันบทความนี้