ผ่าตัดส่องกล้องรักษาโรคหมอนรองกระดูกตีบตัน ด้วยเทคนิค PSLD

โรคหมอนรองกระดูกตีบตัน เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของอาการปวดหลัง เกิดจากภาวะที่มีการตีบแคบของโพรงกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นช่องผ่านของเส้นประสาท โดยการตีบแคบอาจเกิดเพียงระดับเดียวหรือหลายระดับของโพรงกระดูกสันหลัง และกระดูกสันหลังที่ตีบเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในคือบริเวณหลัง ส่วนล่าง และส่วนคอ

สาเหตุของโรคหมอนรองกระดูกตีบตัน

เริ่มต้นจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามอายุที่มากขึ้น หมอนรองกระดูกสันหลังจะมีความสูงที่ลดลง และการทำงานของหมอนรองกระดูกสันหลังจะแย่ลงในการรับน้ำหนักทำให้มีการนูนของหมอนรองกระดูกสันหลังเข้าไปในโพรงกระดูกสันหลังที่เส้นประสาทอยู่ด้านใน ทำให้เส้นประสาทที่อยู่ภายในโพรงกระดูกสันหลังถูกกดทับ

อาการ

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการอาการปวดร้าวลงขาทั้งสองข้าง หรือขาอ่อนแรงทำให้ก้าวขาไม่ออก ต้องหาที่นั่งพักเพื่อให้อาการปวดหรือชาที่ขาดีขึ้น หากหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทมากขึ้นจะทำให้ระยะทางที่เดินสั้นลงเรื่อยๆ

การวินิจฉัย

การตรวจด้วย x-ray และ MRI เป็นมาตรฐานของการวินิจฉัยโรคนี้

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกตีบตัน สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 อาการไม่รุนแรงมาก
เริ่มจากการกินยาแก้ปวด กายภาพบำบัดหรือฉีดยาเพื่อระงับความปวดเข้าที่โพรงประสาท ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้น วิธีถัดไปคือ การผ่าตัดส่องกล้อง

กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยการผ่าตัด
สำหรับการรักษา โรคหมอนรองกระดูกตีบตัน ด้วยวิธีการผ่าตัดส่องกล้อง แพทย์จะทำการเจาะรูที่ผิวหนัง ประมาณ 0.5 ซม. บริเวณด้านหลังแล้วสอดกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscopic discectomy) ผ่าทางแผลผ่าตัด เข้าไปยังบริเวณที่กดทับโดยตรง โดยแพทย์สามารถเลือกตัดเฉพาะส่วนที่กดทับจากหมอนรองกระดูกที่ปลิ้น หรือ การบีบรัดจากกระดูกข้อตรงตำแหน่งของหมอนรองกระดูกที่มีปัญหาก็ได้ ที่สำคัญการผ่าตัดด้วยวิธีนี้จะกระทบกับ กล้ามเนื้อน้อยมาก ผู้ป่วยสามารถเดินได้ทันทีหลังการผ่าตัด

ข้อดี

-แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กเพียง 0.5 ซม. ปวดแผลผ่าตัดน้อย

-ความเสี่ยงในการติดเชื้อต่ำ

-ลดการทำลายเนื้อเยื่อส่วนดีที่อยู่บริเวณผ่าตัด

-ผู้ป่วยฟื้นตัวหลังผ่าตัดเร็ว สามารถกลับบ้านได้ภายใน 24 ชั่วโมง

-ไม่จำเป็นต้องให้เลือด เพราะเสียเลือดน้อย

-เครื่องมือที่ใช้เป็นกล้องที่มีขนาดเล็กพิเศษ ทำให้การบาดเจ็บน้อยกว่า ระยะเวลานอนโรงพยาบาลสั้น

ข้อจำกัด

การผ่าตัดด้วยวิธีนี้ต้องใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ จึงจะได้ผลการรักษาที่ดี และมีผลแทรกซ้อนน้อย

แบ่งปันบทความนี้