หยุดทรมานจากโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท ด้วยเทคนิค PSCD

คุณเคยรู้สึกปวดคอ หรือปวดต้นคอท้ายทอย แล้วมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วยหรือไม่ ปวดคอร้าวลงแขน ,ปวดหัวบริเวณท้ายทอย ,มีอาการชาที่นิ้วมือ และอ่อนแรง เนื่องจากการเส้นประสาทคอโดนกดทับ

สาเหตุ และพฤติกรรมเสี่ยงของการใช้คอผิดลักษณะ

โรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท เกิดขึ้นได้ทั้งจากอุบัติเหตุ และจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งส่วนที่เกิดจากอุบัติเหตุ มีการบาดเจ็บและทำให้หมอนรองกระดูกบริเวณต้นคอ มีการเคลื่อน หรือกดทับไขสันหลังหรือเส้นประสาท

สำหรับกลุ่มที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตพบได้บ่อยๆ คือกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเรื่องของการใช้คอ ใช้กล้ามเนื้อแผ่นหลังที่ผิดลักษณะ เช่น

  1. พฤติกรรมการใช้คอผิดท่านานเกิน 2 ชั่วโมง เช่น ก้มคอ พับคอ เงยคอ
  2. พฤติกรรมความรุนแรง เช่น สะบัดคอ โยกคอ หรือวางของไว้บนศีรษะ
  3. โครงสร้างไม่สมดุล ตั้งแต่แรกเกิด เช่น กระดูกคอคด

ยิ่งก้ม ยิ่งเสี่ยงปวดคอเรื้อรัง (Text Neck Syndrome)
เสพติดมือถือ ระวังปวดคอเรื้อรังโดยไม่รู้ตัว

สาเหตุเหล่านี้มักทำให้ มีปัญหาเรื่องปวดคอ บ่า ไหล่ หรือมีอาการปวดต้นคอท้ายทอย ปวดแปล๊บเหมือนไฟช็อตลงไปที่แขน มีอาการชา บางรายอาจอ่อนแรง ด้านแพทย์เฉพาะทางกล่าวว่า สาเหตุหลักของอาการดังกล่าวเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เป็นสาเหตุหลัก และจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาทอายุน้อยลงมากขึ้นเรื่อยๆ

โรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท พบอาการได้ 2 แบบคือ

1.อาการปวดต้นคอท้ายทอยอาจเกิดจากหมอนกระดูกคอบวมออกมาระคายเคืองเส้นประสาท หรือมีเส้น ประสาทคอส่วนบนโดนกดทับ
2.อาการปวด ชา ร้าวลง บ่า ไหล่ แขนและมือ เกิดจากหมอนรองคอกดทับเส้นประสาท หรือมีกระดูกคอทรุด ทำให้ เส้นประสาทโดนกดทับ

ถ้าหากมีการกดทับรุนแรง หรือปล่อยให้เกิดการกดทับทิ้งไว้นานจะทำให้เกิดอาการชาและอ่อนแรงของแขนได้

การวินิจฉัย

ถ้าคนไข้ที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท ได้กินยานานเกิน 1 เดือนแต่อาการปวดต้นคอท้ายทอยหรืออาการชาร้าวลงแขนหายแค่ช่วงเวลาสั้นๆ และกลับมาเป็นใหม่ แพทย์จะทำการตรวจการทำงานของระบบประสาทส่วนคอ ด้วยการทำ x-rayและMRI เพื่อหาต้นเหตุของอาการที่ตรงจุด

แนวทางการรักษาโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท

ปัจจุบันมีเครื่องมือการรักษาที่ทันสมัยและช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำการรักษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 อาการไม่รุนแรงมาก
อันดับแรกพอมีการปวดให้ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ถ้าปรับแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นแพทย์จะใช้ยาแก้ปวดหลายๆตัวร่วมกับการทำกายภาพบำบัดที่เหมาะสม อาการก็มักจะดีขึ้นเป็นลำดับภายในไม่กี่สัปดาห์

กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้ป่วยที่มี ข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยการผ่าตัด
ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ เรื้อรัง หรือปวดต้นคอท้ายทอย มานาน รักษาแล้วอาการปวดยังไม่ดีขึ้น ปวดร้าวลงแขน ที่เกิดจากการกดทับเส้นประสาท หรือไขสันหลังส่วนคอโดนแพทย์จะทำการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนคอทางด้านหลัง ด้วยเทคนิค PSCD (Percutaneous Stenoscopic Cervical Decompression) เพื่อขยายช่องกระดูกสันหลังส่วนคอโดยแพทย์จะทำการนำกล้องเอ็นโดสโคป ที่มีความละเอียดสูงเข้าไปในช่องว่างภายในกระดูกคอเพื่อนำหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาทออกมา หลังจากได้รับการรักษาเรียบร้อยแล้วผู้ป่วย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำหลังการผ่าตัด ของแพทย์เพื่อการหายอย่างยั่งยืน

ก่อนนำหมอนรองกระดูกออก
หลังนำหมอนรองกระดูกออก
ข้อดี
  1. ลดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อ
  2. แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กเพียง 0.5 เซนติเมตร
  3. ไม่ต้องเปิดแผลที่มีขนาดใหญ่เกินความจำเป็น
  4. ไม่ต้องใส่อุปกรณ์เสริมเข้าไปในร่างกาย
  5. เสียเลือดน้อย ข้อแทรกซ้อนต่ำกว่าการผ่าตัดใหญ่
  6. ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วหลังจากการผ่าตัด
ข้อจำกัด

การผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนคอ ด้วยเทคนิคแบบ PSCD ถือว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ ดังนั้นจึงต้องใช้ความเชี่ยวชาญ ของแพทย์เฉพาะทาง ควบคู่ในการรักษาผู้ป่วยทำให้ไม่เป็นที่แพร่หลาย และจะพบได้ที่โรงพยาบาลเฉพาะทางที่รักษาโรค กระดูกสันหลังโดยเฉพาะ

แบ่งปันบทความนี้