รักษากระดูกสันหลัง ปวดหลังจากโรคหมอนรองกระดูก | Spinal Disc Herniation
ข้อมูลทั่วไป

รักษากระดูกสันหลัง ปวดหลังจากโรคหมอนรองกระดูกสันหลัง | Back Pain, Spinal Disc Herniation

หมอนรองกระดูกสันหลัง (Intervertebral disc) ของมนุษย์นั้น มีลักษณะเป็นรูปทรงสั้นๆ มีความสูงประมาณ 1 ใน 4 ของความยาวของข้อกระดูกสันหลัง (ประมาณ 6-8 มม.) องค์ประกอบแบ่งเป็น 3 ชุด คือ

  • ส่วนที่อยู่บริเวณศูนย์กลาง จะมีลักษณะอ่อนนุ่ม คล้ายกับเจลลี่
  • ส่วนที่อยู่โดยรอบ มีลักษณะเป็นพังผืด ซึ่งจะมีความยืดหยุ่นอยู่บ้าง
  • ส่วนที่ยึดติดกับข้อกระดูกสันหลัง จะ มีลักษณะคล้ายกระดูกอ่อนโครงสร้างทั้ง 3 ส่วนนี้ มีน้ำเป็นส่วนประกอบเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้หมอนรองกระดูกสันหลังทำหน้าที่ช่วยรับแรงที่เกิดขึ้น และช่วยในการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง

อาการปวดหลัง (Back pain) จากโรคหมอนรองกระดูกสันหลัง พบได้บ่อยทั้งเพศหญิง เพศชาย พบบ่อยที่กระดูกสันหลังส่วนระดับเอวล่างๆ (Low back) ทั้งนี้เนื่องจากเป็นกระดูกสันหลังส่วนที่มีการเคลื่อนไหวมาก และต้องรับน้ำหนักมากที่สุด จึงเกิดอาการเสื่อม หรือแตกปริ้นของหมอนรองกระดูกได้บ่อยกว่ากระดูกสันหลังในระดับอื่นๆ

อาการปวดหลังจากโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเกิดขึ้นอย่างไร

อาการปวดหลังจากโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเกิดขึ้นอย่างไรเมื่ออายุมากขึ้นจะมีการเปลี่ยนแปลง ต่อโครงสร้าง หมอนรองกระดูกสันหลัง ทั้ง 3 ส่วน โดยส่วนที่มีปริมาณของน้ำลดลง และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี ส่งผลให้ความสูงของหมอนรองกระดูกสันหลังลดลงความสามารถในการรับแรงกระแทกลดลง มีการฉีกขาดของเนื้อเยื้อ พังผืดที่อยู่โดยรอบทั้งในแนวเส้นรอบวง และตามแนวรัศมีที่ทำให้ส่วนที่อยู่ใจกลางแตกปลิ้นออกมาตามรอยฉีกขาดของส่วนที่เป็นพังผืดได้ ซึ่งหมอนรองกระดูกสันหลังที่ปลิ้นออกมานี้ จะไปรบกวนหรือกดเบียดทับเส้นประสาท ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลัง ปวดสะโพกร้าวลงขา

อะไรคือปัจจัยเสี่ยงของปวดหลังจากโรคหมอนรองกระดูกสันหลังอะไรคือปัจจัยเสี่ยงของปวดหลังจากโรคหมอนรองกระดูกสันหลัง

ปัจจัยหลายประการที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงของหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมได้แก่

อายุที่สูงขึ้น
พันธุกรรม
การขาดสารอาหาร
การสูบบุหรี่
โรคเบาหวาน
แรงกระทำต่อหมอนรองกระดูกสันหลัง
ปวดหลังจากโรคหมอนรองกระดูกสันหลังมีอาการอย่างไร

โดยปกติผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการปวดหลังนำมาก่อน อาจมีประวัติหกล้ม หรือยกของหนัก ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดสะโพกร้าวลงไปด้านหลังของต้นขา น่องจนถึงหลังเท้า หรือฝ่าเท้า ในขณะยืนก้มหลัง ซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด อาการปวดเพิ่มขึ้นเวลาไอ หรือจาม หรือยกของหนัก นั่ง หรือยืนนานไม่ได้เพราะอาการปวด

ท่าเดินผิดปกติ บางรายจะมีอาการชาที่ขา และ/หรือ เท้าและ/ หรือกล้ามเนื้อขาและ/ หรือเท่าอ่อนแรง ถ้ามีอาการรุนแรง จะควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ และอุจจาระลำบาก

เมื่อปวดหลัง จะมีวิธีการดูแลรักษาเบื้องต้นอย่างไร

การรักษากระดูกสันหลังเบื้องต้นของการปวดหลังจากโรคหมอนรองกระดูกสันหลัง ที่สำคัญได้แก่

  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวด ได้แก่ การนั่ง หรือการยืน ติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • งดเว้นกิจกรรมหรือเล่นกีฬา ที่ทำให้เกิดแรงกระทำต่อหลังมากๆ เช่น ก้มหลัง หรือยกของ
  • กินยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamaol)
เมื่อใดที่ควรไปพบแพทย์

เมื่อปวดหลัง จะมีวิธีการดูแลรักษากระดูกสันหลังเบื้องต้นอย่างไรควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้

  • ถ้าไม่สามารถคุมการขับถ่ายปัสสาวะ และอุจจาระได้ ต้องไปพบแพทย์ทันที โดยเร็วที่สุด
  • มีอาการชาหลังเท้า หรือฝ่าเท้า ไม่สามารถกระดกข้อเท้า กระดกนิ้วหัวแม่เท้า หรืองอนิ้วหัวแม่เท้าได้เต็มที่เท่ากับเท้าอีกข้างหนึ่ง
  • อาการปวดหลังรุนแรง ไม่ทุเลาลงหลังการดูแลเบื้องต้นนาน 4 สัปดาห์

    แพทย์วินิจฉัยปวดหลังจากโรคหมอนรองกระดูกสันหลังอย่างไร

    แพทย์วินิจฉัยอาการปวดหลังจากโรคหมอนรองกระดูกสันหลังโดยอาศัยสิ่งต่อไปนี้ คือ

แพทย์มีวิธีการรักษาปวดหลังจากโรคหมอนรองกระดูกสันหลังอย่างไร ค่ารักษากระดูกสันหลังแพงหรือไม่
- ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย ได้แก่ อายุ เพศ รูปร่าง ประวัติอาการของผู้ป่วย ก็สามารถวินิจฉัยได้เป็นส่วนใหญ่
- ตรวจร่างกาย พบว่าผู้ป่วยมีอาการปวดสะโพกร้าวลงขา เลยเข่าจนถุงบริเวณน่อง หลังเท้าหรือฝ่าเท้า ไม่มาสามารถกระดกข้อเท้า กระดกนิ้วหัวแม่เท้า หรืองอนิ้วหัวแม่เท้าได้เต็มที่เท่ากับเท้าอีกข้างหนึ่ง
- ภาพเอกซเรย์กระดูกสันหลัง เพื่อดูกระดูกสันหลัง ว่ามีหักหรือเคลื่อน
- เอกซเรย์สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (เอ็มอาร์ไอ/MRI) กระดูกสันหลัง เป็นวิธีการวินิจฉัยที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน สามารถดูพยาธิสภาพหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นชัดเจน และสามารถดูเนื้อเยื่อเส้นประสาทได้ชัดเจน
- การตรวจเลือดและการตรวจอื่นๆไม่มีความจำเป็น และไม่ช่วยในการวินิจฉัย

แพทย์มีวิธีการรักษาปวดหลังจากโรคหมอนรองกระดูกสันหลังอย่างไร ค่ารักษาแพงหรือไม่

1.การรักษาโดยไม่ใช้ยา ประกอบไปด้วย

  • ในระยะเฉียบพลัน (2 สัปดาห์ แรกหลังจากมีอาการปวด )ควรหลีกเลี่ยงกิจกรมที่ทำให้อาการปวดหลังรุนแรงขึ้น หลีกเลี่ยงการนอนพักนานๆหลายวัน ถ้ามีอาการปวดหลังมาก อาจให้นอนพักไม่เกิน 48 ชั่วโมง และทำกิจวัติประจำวันตามปกติ เท่าที่สามารถทำได้
  • ในระยะกึ่งเฉียบพลัน และระยะเรื้อรัง (เกิน2 สัปดาห์ขึ้นไป ) การรักษาที่มีหลักฐานวิจัยว่า มีประสิทธิผลได้แก่ การออกำลังกาย การรักษากระดูกสันหลังทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูหลายสาขา(กายภาพบำบัด) ส่วนการรักษาที่อาจมีผลเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีประสิทธิผล ประกอบด้วย การประคบความร้อน และความเย็น การนวดโดยใช้คลื่น อัลตร้าซาวด์ การฝังเข็ม เลเซอร์ การดึงหลัง การสวมเสื้อพยุงเอว

2.การรักษาด้วยยา

ในระยะเฉียบพลันรักษาด้วยยาแก้ปวด พาราเซตามอล (Parasatamal) เป็นตัวเลือกอันดับแรก เพราะมีประสิทธิผลใกล้เคียงยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ แต่มีความปลอดภัยกว่าและราคาถูก แต่จะใช้ยาต้านการอักเสบ ที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เมื่อใช้ พาราเซตามอลไม่ได้ผล ซึ่งข้อห้ามใช้ยากลุ่มนี้ คือผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจ โรคตับ โรคไต ซึ่งเป็นข้อห้ามใช้นอกจากนั้น คือ ยาคลายกล้ามเนื้อ
ในระยะกึ่งเฉียบพลัน และเรื้อรัง รักษาด้วยยาแก้ปวด พาราเซตามอล ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาต้านซึมเศร้าอาจช่วยในอาการปวดร้าว ลงขาดีขึ้น

3.การฉีดบรรเทาอาการปวดเข้าในช่องเหนือถุงหุ้มไขสันหลัง

ช่วยลดอาการปวดร้าวลงขา ข้อบ่งชี้ คือเมื่อไม่ตอบสนอง ต่อการรักษาด้วย 2 วิธีแรก แล้วไม่น้อยกว่า 4-6 สัปดาห์ โดยอยู่ในความดูแลของแพทย์

4.การทำหัตถการเพื่อเอาหมอนรองกระดูกสันหลังออกบางส่วนผ่านผิวหนัง

เป็นวิธีการเอาหมอนรองกระดูกสันหลังออกโดยใช้สารเคมี ความร้อน ความถี่คลื่นวิทยุ เลเซอร์ อุปกรณ์ปั่นและดูดเนื้อหมอนรองกระดูกสันหลังหรือรวมทั้งการใช้กล้องส่องผ่านผิวหนังเข้าไปเอาหมอนรองกระดูกสันหลังออกบางส่วน ข้อบ่งชี้ คือ เมื่อไม่ตอบสนองต่อการรักษากระดูกสันหลังด้วย 2 วิธีแรก ไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์ และเป็นหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นขนาดเล็ก หรือปานกลาง ไม่มีชิ้นย่อยออกมา หรือมี พังผืดติดกับรากประสาท หรือมีช่องกระดูกสันหลังตีบ หรือมีตัวกระดูกสันหลังเคลื่อนผิดที่ร่วมด้วย โอกาสประสบความสำเร็จจากการรักษา ด้วยวิธีนี้เฉลี่ย 90-95 %

5.การรักษากระดูกสันหลังโดยหลีกเลี่ยงการผ่าตัด

ด้วยเลเซอร์คลื่นวิทยุ วิธีนี้นิยมมากในต่างประเทศเนื่องจากไม่ต้องผ่าตัด มีความเสี่ยงน้อยกว่าวิธีอื่นๆ แผลขนาดเล็กเท่าเข็มฉีดยา (1 มิลิเมตร) โดยการทำงานของเลเซอร์นั้นจะไปให้ความร้อนแก่โครงสร้างของศูนย์กลางหมอนรองกระดูก ที่มีลักษณะเป็นเจลลี่ เมื่อได้รับความร้อนอาการของหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาทสามารถหดกลับได้ (ให้ลองนึกถึงพลาสติกเมื่อโดนความร้อนจะหดตัวได้) วิธีนี้ใช้เวลาในการนอน รพ. 1 คืน เท่านั้น
*ข้อบ่งชี้ -ใช้รักษาในผู้ป่วยหมอนรองกระดูกปลิ้น เคลื่อนกดทับเส้นประสาท

ป้องกันไม่ให้เกิดปวดหลังจากโรคหมอนรองกระดูกสันหลังได้อย่างไร

การป้องกัน ปวดหลังจากโรคหมอนรองกระดูกสันหลัง คือ หลีกเลี่ยงหรือลดปัจจัยเสี่ยง เช่น กิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวดได้แก่ การนั่งหรือยืนติดต่อกันเป็นเวลานานๆ งดเว้นกิจกรรมหรือเล่นกีฬาที่ทำให้เกิดแรงกระทำต่อหลังมากๆ เช่น ก้มหลังยกของ และบริหารกล้ามเนื้อหลังให้มีความแข็งแรงและยืดหยุ่น ตามแพทย์ และนักกายภาพบำบัดแนะนำ

ป้องกันโรคหมอนรองกระดูกสันหลังได้อย่างไร

เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงสำคัญปัจจัยหนึ่ง ของโรคหมอนรองกระดูก คือ การเสื่อมตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การป้องกันโรคไม่ให้เกิดเต็มร้อย จึงเป็นไปไม่ได้ แต่สามารถช่วยชะลอการเกิดได้ได้ช้าลง และลดความรุนแรงของอาการได้ โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ได้แก่

ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกิดโรคอ้วน และน้ำหนักตัวเกิน เพื่อลดแรงกดกระแทก หมอนรองกระดูกจากน้ำหนักตัว
ออกกำลังกายอย่างถูกต้อง สม่ำเสมอ
รู้จักท่านั่ง ยืน ก้ม ยกของหนักที่ถูกต้อง
เลิกบุหรี่ ไม่สูบบุหรี่
กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสมในทุกๆ มื้อ

สรุป

อาการปวดหลังจากหมอนรองกระดูกสันหลัง พบได้บ่อยทั้งเพศหญิงและเพศชาย พบได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 20-65 ปีขึ้นไป และจะพบมากในช่วงอายุวัยทำงาน พบบ่อยที่กระดูกสันหลังส่วนเอวระดับล่าง ทั้งนี้เนื่องจากเป็นกระดูกสันหลังส่วนที่มีการเคลื่อนไหวมาก และต้องรับน้ำหนักมากที่สุด จึงเกิดการเสื่อมหรือแตกปลิ้นได้บ่อยกว่าในส่วนกระดูกสันหลังในระดับอื่นๆ

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการปวดหลังนำมาก่อน อาจมีประวัติหกล้ม หรือยกของหนัก ส่วนใหญ่มีอาการปวดสะโพกร้าวลงไปด้านหลังของต้นขา น่องจนถึงหลังเท้า หรือฝ่าเท้าขณะยืนก้มหลังซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด อาการปวดเพิ่มขึ้นเวลาไอหรือจาม หรือยกของหนัก นั่งหรือยืนนานๆไม่ได้ อาจมีอาการชา และกล้ามเนื้ออ่อนแรง

การรักษาเบื้องต้นที่สำคัญ ได้แก่ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวด ได้แก่ การนั่ง หรือการยืนติดต่อกันเป็นเวลานานๆ งดเว้นกิจกรรม หรือเล่นกีฬาที่ทำให้เกิดแรงกระทำต่อหลังมากๆเช่น ก้มหลังยกของ

การรักษามีหลายวิธี ขึ้นกับระดับอาการ และความรุนแรงของโรค การรักษาในช่วง 2 สัปดาห์แรก ได้แก่ การรักษากระดูกสันหลังโดยไม่ใช้ยา การรักษาด้วยยา ในช่วงหลัง 2-4 สัปดาห์ เมื่อการรักษาวิธีแรกไม่ได้ผล แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาปรับวิธีการรักษาใหม่ ได้แก่ฉีดยาบรรเทาอาการปวดเข้าในช่องเหนือถุงหุ้มไขสันหลัง การทำหัตถการ เพื่อเอาหมอนรองกระดูกสันหลังออกบางส่วนทางผิวหนัง การใช้เลเซอร์เลี่ยงการผ่าตัด รักษาหมอนรองกระดูกปลิ้นทับเส้นประสาท การผ่าตัดส่องกล้อง ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นทุกชนิด และมีประสิทธิผลสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีอื่นๆ

แบ่งปันบทความนี้