ลดความเจ็บปวด ด้วยเทคโนโลยี “เลเซอร์”

ปัจจุบันนี้วิวัฒนาการทางการแพทย์พัฒนาไปอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด ทำให้มีวิธีการรักษาหลากหลายที่ช่วยให้เจ็บน้อยลง ฟื้นตัวไวขึ้น รู้หรือไม่ว่า “เลเซอร์” นั้น สามารถใช้กับการผ่าตัดได้ด้วย!

การผ่าตัดด้วยเลเซอร์ (LASER = Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation) เป็นหนึ่งในวิธีการผ่าตัดแบบแผลเล็ก หรือ MIS (Minimal Invasive Surgery) ซึ่งการทำเลเซอร์มักจะใช้กับอาการของหมอนรองกระดูกที่ปลิ้นออกมาไม่เยอะ ซึ่งกรณีนี้ไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัดใหญ่ให้เสียเวลา เสียเลือดโดยไม่จำเป็น และเนื้อเยื่อในบริเวณนั้นก็ไม่ถูกทำลาย

ซึ่งเลเซอร์ที่เหมาะสำหรับการผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลัง คือ

Holmium Yag LASER

Diode LASER

เนื่องจากเลเซอร์ทั้ง 2 ชนิดนี้สามารถวิ่งผ่านน้ำได้ เพราะพลังงานความร้อนที่กระจายไปในเนื้อเยื่อใกล้เคียง เพียงแค่ 0.2 มิลลิเมตร โอกาสที่จะกระทบกระเทือนเส้นประสาทน้อยมาก แต่ทำการหดตัวของหมอนรองกระดูกและเนื้อเยื่อได้สูง
• ปวดหลังไม่หาย...ต้องรักษา
• การผ่าตัดกระดูกสันหลัง เรื่องใกล้ตัว ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
• เทคนิคการผ่าตัดกระดูกสันหลัง มีกี่วิธี ที่คุณเลือกได้

ข้อแตกต่างระหว่างการผ่าตัดแบบทั่วไป และ การผ่าตัดแบบเลเซอร์

• การผ่าตัดแบบเก่านั้นแพทย์จะต้องใช้มีดผ่าตัดกรีดลงไปที่ผิวของคนไข้ จากนั้นแพทย์จะทำการแหวกเนื้อเยื่อและตัดกระดูกสันหลังของคนไข้ทิ้งไป จึงทำให้เกิดความสูญเสียและการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ หรือเนื้อเยื่อบริเวณรอบๆ การผ่าตัด ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้คนไข้เสียเลือดเป็นจำนวนมาก เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และเส้นประสาทตรงไขสันหลังเกิดการบาดเจ็บ

• ส่วนการผ่าตัดโดยใช้เลเซอร์ ไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัดแบบเปิดแผล เพราะแพทย์จะใช้เข็มที่มีขนาด 1 มิลลิเมตร หรือเท่ากับเข็มฉีดยา แทงเข้าไปบริเวณที่หมอนรองกระดูกปลิ้นออกมา จากนั้นจะปล่อยกระแสความร้อนของเลเซอร์หรือคลื่นวิทยุผสมกับกระแสความร้อนของเลเซอร์ เข้าไปจี้ตัวหมอนรองกระดูกที่ปลิ้นออกมา จากนั้นหมอนรองกระดูกก็จะหดตัวกลับเข้าไปเหมือนเดิม ซึ่งการทำวิธีนี้มีความเสี่ยงที่ต่ำ คนไข้เสียเลือดน้อยมาก

คนส่วนใหญ่ที่มารักษาโดยใช้เลเซอร์มักเป็นหมอนรองกระดูกปลิ้นที่ออกมาไม่มาก และพบมากที่บริเวณเอวและคอ ซึ่งสาเหตุที่คนมักจะเป็นที่ส่วนเอว เพราะเมื่อก่อนคนไทยส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกร ต้องยกของหนัก แต่ในปัจจุบันวิถีชีวิตคนส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนไป เพราะนั่งทำงานอยู่แต่ในออฟฟิศ นั่งอยู่แค่ที่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานๆ ทำให้เกิดหมอนรองกระดูกปลิ้นที่คอมากขึ้น
• หมอนรองกระดูกปลิ้นคือ?
ปวดต้นคอท้ายทอยจุดเริ่มต้นกระดูกคอเสื่อม โดยนพ.เมธี ภัคเวช

ข้อดีของการทำเลเซอร์

-ไม่ต้องเปิดแผลที่มีขนาดใหญ่เกินความจำเป็น เพราะเข็มในการทำเลเซอร์มีขนาด 1 มิลลิเมตร หรือเท่ากับเข็มฉีดยา
-คนไข้เสียเลือดน้อย
-กระทบกระเทือนเส้นประสาทน้อย
-ข้อแทรกซ้อนต่ำกว่าการผ่าตัดใหญ่
-ฟื้นตัวเร็วหลังจากการผ่าตัด

ข้อควรหลีกเลี่ยงหลังทำเลเซอร์

-ไม่ทำกิจกรรมดังนี้เป็นเวลานาน เช่น นั่งพับเพียบ ,นั่งยองๆ ,คุกเข่า ,นั่งขัดสมาธิ เป็นต้น
-ไม่ยกของหนักข้างละ 5 กิโลกรัม
-ไม่นั่งท่าใดท่าหนึ่งนานเกิน 2 ชั่วโมง ถ้าหากจำเป็นต้องอยู่ท่านี้นานเกิน 2 ชั่วโมงก็ควรลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสาย แล้วค่อยกลับไปนั่งใหม่
-ไม่ควรทำกิจกรรมโลดโผนที่ทำให้กระดูกสันหลังเกิดแรงกระแทก

ส่วนข้อจำกัดในการทำเลเซอร์นั้นมีน้อยมาก เพราะคนไข้ที่มีอายุมากก็สามารถทำเลเซอร์ได้ แต่หากคนไข้มีประวัติในการแพ้ยาสลบก็สามารถทำได้เช่นกัน การรักษาด้วยเลเซอร์สามารถฉีดยาชาแล้วทำการรักษาได้เลย

ซึ่งจะรักษาด้วยเลเซอร์ได้นั้นคุณต้องเข้ามาทำการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลังและระบบประสาทก่อน จากนั้นต้องทำ x-ray และ MRI ก่อนแพทย์ถึงจะสามารถวินิจฉัยโรคและทำการรักษาด้วยเลเซอร์ได้
• MRI แบบยืน ค้นหาสาเหตุของคนปวดหลัง

ถ้าผล x-ray และ MRI ออกมาแล้วพบว่าหมอนรองกระดูกปลิ้นออกมาไม่มาก ทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็จะทำการรักษาด้วยเลเซอร์ แต่ถ้าหมอนรองกระดูกปลิ้นออกมาเยอะ ทางแพทย์ก็ต้องทำการผ่าตัดแบบส่องกล้อง และเอาเลเซอร์เข้าไปช่วยในการรักษาครั้งนี้ด้วย ก็จะทำให้หมอนรองกระดูกที่ปลิ้นออกมานั้นยุบตัวและกลับเข้าไปเหมือนเดิม

ที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ มีทีมแพทย์ผู้ชำนาญ ในการวินิจฉัยโรคและการผ่าตัดโดยใช้เลเซอร์ เพราะทีมแพทย์ของเรามองเห็นถึงต้นเหตุของการโรค จึงทำให้เรานั้นสามารถรักษาคนไข้ได้อย่างตรงจุด

แบ่งปันบทความนี้