รักษา หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคยอดฮิตของคนปวดหลัง

หากจู่ๆคุณมีอาการปวดหลัง  ตึงหลัง ขาชา เดินลำบาก แล้วละก็ เชื่อว่าโรคแรกๆที่จะนึกถึงคงหนีไม่พ้น “อาการกระดูกทับเส้น”  แต่ในความเป็นจริงกระดูกมันไม่ได้ทับเส้น สาเหตุที่แท้จริงคือ “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” (Herniated Nucleus Pulposus) ซึ่งต่างจากโรคกระดูกทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเกิดขึ้นได้อย่างไร?

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ สาเหตุหลักที่พบบ่อยคือ หมอนรองกระดูกเสื่อมจาการใช้งานมาเป็นระยเวลานาน อายุที่เพิ่มมากขึ้น พฤติกรรมที่เกิดจากการใช้ชีวิต และอุบัติเหตุที่กระทบต่อกระดูกสันหลัง จึงทำให้นํ้าในหมอนกระดูกสันหลังแตกและเคลื่อนออกมากดเบียดเส้นประสาท ส่งผลให้มีอาการปวดชาหรือแขน-ขาอ่อนแรงได้

ภายในหมอนรองกระดูกของกระดูกสันหลัง จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนดังนี้

1. Nucleus pulposus สารนํ้าลักษณะคล้ายกับเจลลี่ ภายในแกนกลางของหมอนรองกระดูก โดยมีหน้าที่ดูดซับแรงกระแทกและกระจายแรงของนํ้าหนักตัวที่ส่งผ่านมายังกระดูกสันหลังแต่ละข้อในขณะที่เคลื่อนไหวร่างกาย

2. Annulus fibrosus เส้นเอ็นก่อตัวเป็นชั้นๆ ห่อหุ้ม Nucleus pulposus มีหน้าที่ให้ข้อต่อระหว่างกระดูกสันหลังมีความมั่นคงแข็งแรง จากการบิดตัวหรือการก้มเงย ป้องกันไม่ให้สารนํ้าใน nucleus pulposus ปลิ้นออกมาภายนอก

กลไกการเกิดหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

กลไกการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

การเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดจากการเสื่อมของ annulus fibrosus (เส้นเอ็นที่ก่อตัวเป็นหมอนรองกระดูกสันหลัง) จากการทำงานที่ส่งผลต่อกระดูกสันหลังโดยตรง เช่น การก้มหลังยกของหนัก, การขับรถนาน, การทำกิจกรรมที่ต้องก้มๆเ งยๆ หลังเป็นประจำ, อุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนต่อกระดูกสันหลังโดยตรง, จากการชอบก้มหลังพร้อมบิดตัว เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ที่เป็นการเพิ่มแรงเครียดต่อ annulus fibrosus อย่างมาก จนทำให้เกิดการฉีกขาดบางส่วน ทำให้สารนํ้าในหมอนรอง (nucleus pulposus) ค่อยๆ ดันตัว annulus fibrosus ออกมาทางด้านหลัง จากนิสัยของคนที่ชอบก้มหลังยกของ จนในที่สุด annulus fibrosus เกิดการฉีกขาดเป็นรูทำให้สารนํ้าภายในทะลักออกมาได้

แต่สารนํ้าที่ออกมานี้มันไม่เพียงออกมาเฉยๆ เพราะที่ด้านหลังของหมอนรองกระดูกมีเส้นประสาทไขสันหลังอยู่ด้วย ตำแหน่งของสารนํ้าที่ออกนั้นไปตรงกับเส้นประสาทพอดี จนเกิดอาการปวดหลัง ชาขา หรืออาการผิดปกติต่าง ๆ ซึ่งนี่ก็คือที่มาของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

สามารถแบ่งระดับความรุนแรงของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ 4 ระดับ

ระดับที่ 1 : Bulging disc
คือ หมอนรองกระดูกเคลื่อนมาทางด้านหลังไม่เกิน 3 มิลลิเมตร และตัว annulus fibrosus ยังปกติ

ระดับที่ 2 : Protrusion
คือ หมอนรองกระดูกเคลื่อนมาทางด้านหลังมากกว่า 4 มิลลิเมตร และตัวสารนํ้าอยู่ชิดกับขอบนอกของ annulus fibrosus แต่ยังไม่ทะลุออกมา ระยะนี้ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดหลัง ขาชาเป็นๆหายๆ

ระดับที่ 3 : Extrusion
คือ

หมอนรองกระดูกเคลื่อนมาทางด้านหลัง มากกว่า 8 มิลลิเมตร และมีสารนํ้าภายในหมอนรองทะลุออกมาจาก annulus fibrosus แต่ก็ยังคงมีการเชื่อมติดกันอยู่ ระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการปวดคงที่ ขาชาตลอดเวลา

ระดับที่ 4 : Sequestration
คือ หมอนรองกระดูกเคลื่อนออกมาจาก annulus fibrosus เต็มที่ และไม่มีการเชื่อมติดกันของหมอนรองกระดูกที่ออกมากับที่อยู่ภายใน ระยะนี้ถือว่าร้ายแรงที่สุด ผู้ป่วยมักเข้ารับการผ่าตัดในระยะนี้เพราะทนอาการปวดไม่ไหว

ผลกระทบที่ตามมาหลังหมอนรองกระดูกเสื่อม

หลังจากที่หมอนรองกระดูกเสื่อมลงจนสารนํ้าภายใน (nucleus pulposus) ปลิ้นออกมาภายนอก หรือสูญหายไปบ้าง จนมีปริมาณลดน้อยลงทำให้ความสูงของหมอนรองกระดูกนั้นค่อยๆ ตีบแคบลงเรื่อยๆ เพราะปริมาณสารนํ้าภายในที่เป็นตัวกำหนดความสูงของหมอนรองกระดูกสันหลังได้หายไป เมื่อหมอนรองกระดูกสันหลังตีบแคบลง ทำให้เกิดอีกโรคหนึ่งตามมาเสมอนั่นคือ “โรคกระดูกสันหลังเสื่อม” เพราะข้อต่อ facet joint ภายในกระดูกสันหลังที่ทำหน้าที่เป็นตัวเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังต้องแบกรับนํ้าหนักที่มากขึ้น และเมื่อถึงจุดหนึ่งข้อต่อ facet ก็แบกรับนํ้าหนักไม่ไหวจนเกิดการเสื่อมขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตึงหลัง รู้สึกหลังขัดๆเมื่อต้องก้มหรือแอ่นหลังนั่นเอง

กระดูกเคลื่อนได้อย่างไร
โรคกระดูกสันหลังเสื่อม

อาการกระดูกทับเส้นหรือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเป็นอย่างไร?

อาการของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

อาการกระดูกทับเส้นหรือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนอกจากจะมีอาการชาขาแล้วยังมีอาการปวดหลังด้วยนั้น 2 ประเด็น คือ

1) มีภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมทำให้ข้อต่อ facet อักเสบจนเกิดอาการปวดหลัง

2) เกิดหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทแขนงใหญ่ที่อยู่กลางกระดูกสันหลังเลย ซึ่งอย่างที่ 2 นี้ถือว่าอันตรายมาก ควรได้รับการรักษา หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทเพราะมีความเสี่ยงที่จะเป็นอัมพาต ซึ่งหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท อาการมักจะเกิดแบบเฉียบพลัน เช่น ก้มหลังยกของหนักแล้วจู่ๆ ได้ยินเสียงดีงปึ้กกลางหลัง ซึ่งเป็นเสียง annulus fibrosus ฉีกขาดแล้วสารนํ้าภายในหมอนรองทะลักออกมากดทับเส้นประสาททันที ปวดหลังมากจนขยับไม่ได้ แต่บางรายหนักถึงขั้นไร้ความรู้สึกท่อนล่างทันที พูดง่ายๆคือเป็นอัมพาตเฉียบพลัน

หากปล่อยให้อาการกระดูกทับเส้น หรือหมอนรองกระดูทับเส้นประสาทไว้นาน และไม่เข้ารับการรักษา นอกจากอาการชาขาที่เป็นอยู่จะมีอาการขาอ่อนแรงตามมา กล้ามเนื้อขาข้างที่ชาเริ่มฝ่อลีบ สูญเสียประสาทรับความรู้สึกและสั่งการบางส่วนไป เดินเซ เสี่ยงล้ม และสุดท้ายคือเดินไม่ได้อีกต่อไป

เทคนิคการผ่าตัดกระดูกสันหลัง มีกี่วิธี ที่คุณเลือกได้
ผ่าตัดส่องกล้องรักษาโรคหมอนรองกระดูกตีบตัน ด้วยเทคนิค PSLD
MRI แบบยืน ค้นหาสาเหตุของคนปวดหลัง

อาการกระดูกทับเส้น รักษาหายไหม ?

การรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรืออาการกระดูกทับเส้นด้วยตนเองนี้ เหมาะกับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงมาก หรือเคยเข้ารับการรักษามาแล้วจนอาการดีขึ้น แต่ในบางรายที่ปวดหลังมาก มีอาการชาเยอะ หรือเป็นมานานจนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อฝ่อลีบแล้ว แนะนำให้เข้ารับการรักษาตามรูปแบบดีกว่า

วิธีการลดปวดจากอาการกระดูกทับเส้นง่ายๆ ทำได้ดังนี้

วิธีที่ 1 ให้นอนควํ่าแล้วนำผ้าร้อนประคบหลังไว้ 20-30 นาที แต่รายที่หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทออกมามากอาจจะนอนควํ่าไม่ได้เลย ให้นำหมอนใบใหญ่มาหนุนไว้ที่หน้าท้องขณะที่นอนควํ่าครับ ยํ้านะครับว่าหนุนไว้ที่หน้าท้องบางรายนำหมอนใบใหญ่มากๆ แทนที่จะหนุนแค่หน้าท้อง แต่ดันไปรองหน้าอกด้วยจนหลังแอ่นปวดมากกว่าเดิมอีก ในขณะที่นอนควํ่าอยู่นั้นหากรู้สึกว่าอาการปวดทุเลาลงแล้ว ก็ค่อยๆปรับขนาดหมอนให้ใบเล็กๆลงเรื่อยๆจนไม่ต้องใช้หมอนรองหน้าท้องอีกต่อไป

หากเรานอนควํ่าแล้วไม่มีอาการปวด ต่อมาให้เราใช้แขนยันตัวขึ้นโดยที่เอวยังคงติดเตียงอยู่ พยายามแอ่นหลังให้มากที่สุดโดยที่ไม่รู้สึกปวด หากแอ่นไปถึงจุดที่ปวดแล้วให้หยุดแล้วกลับสู่ท่านอนควํ่าเหมือน ทำท่านี้จำนวน 10 ครั้งนะครับ เพื่อดันสารนํ้าให้กลับเข้าที่ เปรียบเหมือนกับการปั๊มนํ้า

ทีนี้หากเหยียดศอกจนตึงแล้วแอ่นหลังได้สุดโดยที่ไม่มีอาการใดๆ แล้วละก็ ถึงเวลาที่บริหารกล้ามเนื้อหลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและป้องกันไม่ให้หมอนรองกระดูกปลิ้นออกมาได้อีก โดนการนอนควํ่าเช่นเดิมครับ เอาแขนไว้ข้างลำตัว จากนั้นให้แอ่นหลังขึ้นจนอกพ้นพื้นแล้วลงจำนวน 10 ครั้ง และหากรู้สึกว่ากล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้นก็ให้เพิ่มความยากโดยการเอาแขนไขว้หลังไว้ แล้วยกลําตัวขึ้นค้างไว้ 10 วินาที จำนวน 10 ครั้ง

วิธีที่ 2 เป็นอีกวิธีหนึ่งในการดันสารนํ้าให้กลับเข้าที่โดยไม่ต้องออกแรงอะไรมากมายเลย คือ การเดินในนํ้า ให้เราไปเดินในสระนํ้าที่มีความสูงระดับอก โดยขณะที่เดินไล่ไปตามขอบสระนั้นให้เดินเตะขาไปด้วย หรือหากมีอาการปวดเมื่อเดินก็ให้ยืนนิ่งๆแล้วย่อตัวลงคล้ายกับท่านั่งเก้าอี้ลม เหตุที่ให้ลงนํ้าความสูงระดับอกนั้นก็เพื่อใช้แรงดันนํ้าเนี่ยแหละครับเป็นตัวดันให้สารนํ้าที่ปลิ้นออกมากลับเข้าที่

ข้อสังเกต : เหตุผลที่นอนควํ่าแล้วอาการชา อาการปวดหลังเบาลงนั้น เนื่องจากในขณะที่เรานอนควํ่าแรงดึงดูดของโลกจะดึงสารนํ้าของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทออกไปทางด้านหลังนั้นให้ไหลย้อนกลับมาเข้าไปในหมอนรองกระดูก เส้นประสาทที่ถูกสารนํ้ากดทับอยู่ก็จะหายไปนั่นเอง

หากท่านใดสงสัยว่ากำลังประสบปัญหา มีอาการปวดหลัง อาการกระดูกทับเส้น หรือมีภาวะเสี่ยงว่าจะเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท รักษาหายไหมสามารถปรึกษาเราเพื่อทำการตรวจเช็กร่างกายด้วยการตรวจ MRI และปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลังโดยตรง

S-spine รพ.เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังและระบบประสาท โทร 02-0340808

แบ่งปันบทความนี้