ปวดหลัง แต่ทำไมร้าวลงขา
บ่อยครั้งที่อาการปวดหลัง มักจะเกิดขึ้นร่วมกับ อาการปวดร้าวลงขา เป็นหนึ่งสาเหตุ ที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์มากที่สุด พบได้ในทุกช่วงอายุ แต่พบได้มากที่สุดในวัยทำงาน วันนี้ S-Spine เรามีความรู้ดีๆมาแบ่งปัน รวมถึงสาเหตุที่พบได้บ่อยมากที่สุดของอาการที่ปวดร้าวชาลงที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้จะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว
สาเหตุของอาการปวดหลัง
สาเหตุการปวดหลังร้าวลงขา ที่พบได้บ่อย 4 สาเหตุหลัก คือ
1. กล้ามเนื้ออักเสบ เมื่อกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง ได้รับการบาดเจ็บจากการใช้งานหรืออุบัติเหตุ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งอย่างรุนแรง บางครั้งอาจทำให้มี อาการตึงร้าวลงไปที่สะโพกและขาได้
2.กระดูกสันหลังเสื่อม ส่วนมากจะพบในผู้สูงอายุ เกิดจากความเสื่อมตามวัยของข้อต่อกระดูกสันหลัง ทำให้มีกระดูกงอกหรือเคลื่อนมาทับเส้นประสาท
3. หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท พบบ่อยที่สุดในกลุ่มวัยทำงาน เกิดจากการฉีกขาดของเปลือกหมอนรองกระดูก ทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง และหากส่วนเนื้อด้านในปลิ้นออกมากดทับเส้นประสาทซึ่งอยู่ด้านหลังหมอนรองกระดูก ก็จะทำให้มีอาการปวดร้าวลงขาร่วมด้วย
4. อาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาท เช่น การติดเชื้อบริเวณกระดูกสันหลัง เนื้องอก กระดูกสันหลังแตกหัก เป็นต้น
หมอนรองกระดูกปลิ้น,หมอนรองกระดูกปูด ( Bulging Disc )
โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักจะมาหาแพทย์ด้วยอาการปวดร้าวลงขาหรือมีอาการปวดหลังร่วมด้วย
แล้วคราวนี้เราจะรู้ได้อย่างไรล่ะว่าอาการแบบที่เป็นนี้มันเกิดจากหมอนรองกระดูกปลิ้นหรือเกิดจากสาเหตุอย่างอื่น
อาการที่ทำให้นึกถึง หมอนรองกระดูกปลิ้นนั้นก็คือ อาการปวดจะร้าวลงไปที่ขาเหมือนไฟช็อต ถามว่าทำไมอาการปวด ถึงมีอาการแบบนี้
นั่นก็เพราะเมื่อมีภาวะหมอนรองกระดูกปลิ้นจะมีปัญหาการกดของเส้นประสาทที่ออกมาบริเวณรูกระดูกสันหลังเมื่อกระดูกส่วนนี้ ไปกดทับเส้นประสาทก็จะมีอาการปวดแปล๊บร้าวลงไปที่ปลายขา
โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (Herniated disc)
อาการอาจแสดงออกได้ทั้งบริเวณหลังและขา คนทั่วไปมักเข้าใจว่ามีเพียงอาการปวดหลังอย่างเดียว ที่จริงแล้วอาการที่ขานั้นสำคัญและจำเพาะเจาะจงกับโรคนี้มากกว่า นั่นแสดงถึงว่าเกิดการรบกวนเส้นประสาทสันหลังที่วิ่งไปเลี้ยงที่ขาแล้ว หมอนรองกระดูกที่เคลื่อนออกมามักทำให้เกิดอาการแบบฉับพลันเพราะมีการอักเสบที่รุนแรง
อาการที่หลัง : ปวดหลังบริเวณเอวส่วนล่าง อาจมีอาการที่หลังเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง มักมีอาการในท่านั่ง หรือมีการนั่งงอตัวไปทางด้านหน้าซึ่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกได้รับแรงกดทับมากที่สุด
อาการที่ขา : อาการแสดงที่ขามีได้ 3 แบบ คือ อาการปวด ชา หรือการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ
อาการปวดหรือชาขาที่เกิดจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีลักษณะคือ มีอาการตามแนวที่เส้นประสาทวิ่งไป สามารถปวดได้ตั้งแต่บริเวณเอว ต้นขา น่อง ไปจนถึงบริเวณเท้าและนิ้วเท้าได้ การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อก็มีลักษณะคล้ายอาการปวดและชา คือจะมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อมัดที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาทเส้นที่ถูกกดทับนั้น
สาเหตุของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท
1.การยกของหนักด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้องบ่อยๆ
2.น้ำหนักตัวที่มากเกินไป
3.นั่งทำงานด้วยอิริยาบถที่ไม่ถูกต้องนานๆ
4.อุบัติเหตุและการบาดเจ็บต่อกระดูกสันหลัง
จุดกำเนิดของความเจ็บปวด
จุดกำเนิดของความเจ็บปวดทั้งหลายนั้น ส่วนมากมีสาเหตุ จากการที่กระดูกสันหลัง/หมอนรองกระดูกสันหลังตำแหน่ง Lumbar (L-L5,S1) เกิดความผิดปกติดังข้างต้นที่กล่าวมา
แต่แท้จริงแล้วอาการของหมอนรองกระดูกปลิ้นนี้มีความรุนแรงแตกต่างกันตามความรุนแรงของการกดเส้นประสาทถ้าโดนกดเพียงเล็กน้อยก็อาจจะมีปวดแปล๊บไปที่ขาหรือขาชาเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เส้นประสาทโดน กดอย่างรุนแรงแล้วในผู้ป่วยบางคนอาจจะมีปัญหาถึงขั้นเดินไม่ได้เลยทีเดียว
ดังนั้นแล้วผู้ป่วยคนไหนก็ตามที่มีอาการดังที่บอกมาควรรีบมาพบแพทย์ครับ เพราะถ้ายิ่งปล่อยเรื้อรังก็จะรักษายากมากขึ้นเรื่อยเรื่อย ส่วนภาพด้านล่างก็ดีมากๆครับเพราะเป็นการอธิบายกลไกการเกิดและวิธีการป้องกันรวมทั้งวิธีการทำให้อาการต่างๆดีขึ้น
แพทย์ที่พร้อมดูแลคุณตลอด 24 ชั่วโมง ก็คือ “ตัวคุณเอง”
S Spine & Nerve Hospital มีนวัตกรรมการรักษาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาอาการปวดโดยเฉพาะ ที่จะทำให้การรักษาจากสาเหตุของโรคเพื่อการรักษาที่ตรงจุด ปลอดภัย และไม่เสียเวลาพักฟื้น กลับมาใช้ชีวิตได้ปกติหายขาดได้ โดยไม่ต้องผ่าตัด!
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นอาการปวดหลังร้าวลงขา จากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
แพทย์จะสามารถวินิจฉัยได้จากการซักประวัติและตรวจร่างกายเป็นหลัก อาจมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย เช่น การถ่ายภาพรังสี (X-ray) บางกรณีจึงอาจต้องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือเอกซเรย์แม่เหล้กไฟฟ้า (MRI)
MRIคือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับสร้างภาพอวัยวะในร่างกาย โดยอาศัยหลักของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุ ทำให้ได้ภาพอวัยวะภายใน ที่มีความคมชัด สามารถแยกเนื้อเยื่อของร่างกายที่ปกติและผิดปกติ ออกจากกันได้
ไม่อยากผ่าตัด ก็สามารถใช้ Laser รักษาโรคปวดหลัง..กระดูกทับเส้นได้!!
ปัญหาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แต่เดิมต้องทำการผ่าตัดรักษา ซึ่งมีความเสี่ยงและมีค่าใช้จ่ายสูง