020340808

 กระดูกและข้อเสื่อมได้ ไม่ต้องรอวัยชรา  

20250501 ac sm th web 16x9 กระดูกและข้อเสื่อมที่ไม่ต้องรอ

อาการปวดหลังจาก “ความเสื่อม” ไม่ใช่อาการของผู้สูงอายุอย่างที่เราเข้าใจอีกต่อไป โดยเฉพาะในกลุ่มวัยหนุ่มสาวและวัยทำงานยุคนี้ ที่มีไลฟ์สไตล์นั่งทำงานจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือเป็นเวลานาน แทบไม่ขยับร่างกาย หรือเล่นกีฬาทำกิจกรรมที่ออกแรงเกินกำลัง 

พฤติกรรมซ้ำๆ แบบนี้ แม้จะดูไม่หนักหนาในแต่ละวัน แต่เมื่อสะสมไปนานๆ ก็ทำให้เกิด “ความเสื่อม” ได้ และเมื่ออาการเริ่มแสดงออก เช่น ปวดหลัง ปวดคอเรื้อรัง นั่นอาจเป็นสัญญาณแรกของปัญหากระดูกและข้อไม่ควรมองข้ามาม 

2


หากย้อนดูวิวัฒนาการของมนุษย์ หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปัญหากระดูกสันหลังและข้อเสื่อม พบมากขึ้น คือการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างร่างกาย 

“มนุษย์ในอดีตมีการเคลื่อนไหวแบบสัตว์สี่เท้า ซึ่งช่วยกระจายแรงกดของกระดูกสันหลังในแนวนอนได้ดี แต่เมื่อวิวัฒนาการทำให้เรายืนตัวตรงและเดินสองขา แรงกดจึงเปลี่ยนมาอยู่ในแนวดิ่ง กระดูกสันหลังและข้อต่อต่างๆ ต้องรับน้ำหนักมากขึ้นโดยตรง” 

ข้อเข่าก็เป็นอีกอวัยวะที่ได้รับผลกระทบ จากเดิมที่ร่างกายใช้ขาทั้งหมดในการรองรับน้ำหนักตัว แต่เมื่อเหลือเพียงสองขา แรงกดที่ข้อเข่าจึงเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ส่งผลให้เกิดข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น 

อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้ไม่ได้เกิดจากวิวัฒนาการเพียงอย่างเดียว พฤติกรรมของมนุษย์ยุคใหม่ เป็นอีกหนึ่งตัวเร่งสำคัญที่ทำให้ภาวะกระดูกสันหลังและข้อเสื่อมเกิดขึ้นเร็วกว่าเดิม 

นั่งทำงานนานโดยไม่ขยับตัว 
พฤติกรรมที่หลายคนมองข้ามคือ การนั่งทำงานเป็นเวลานานโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ โดยเฉพาะการนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์หลายชั่วโมงติดต่อกัน ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลังอ่อนแรงลง หมอนรองกระดูกต้องรับแรงกดเพิ่มขึ้น และอาจนำไปสู่ภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมเร็วกว่าปกติ 
นอกจากนี้ ท่านั่งที่ไม่ถูกต้อง เช่น การโน้มตัวไปข้างหน้า นั่งหลังค่อม หรือไหล่ห่อ ก็เป็นปัจจัยที่เพิ่มภาระให้กระดูกสันหลังโดยไม่รู้ตัว ดังนั้น ในระหว่างวัน ควรลุกขึ้นขยับตัวทุก 30-60 นาที และจัดท่านั่งให้เหมาะสม โดยใช้เก้าอี้ที่รองรับหลัง พร้อมปรับระดับหน้าจอให้อยู่ในระดับสายตา 

ยกของหนักผิดวิธี 
อีกหนึ่งพฤติกรรมที่มักทำให้เกิดปัญหากระดูกสันหลังเสื่อมคือ การยกของหนักผิดวิธี หลายคนมักก้มยกของโดยใช้แรงจากหลัง แทนที่จะใช้กำลังจากขา ทำให้หมอนรองกระดูกต้องรับแรงกดอย่างรุนแรง และอาจนำไปสู่ภาวะหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือกดทับเส้นประสาท ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดร้าวไปตามแขนหรือขาได้ 
ดังนั้น เมื่อต้องยกของหนัก ควร ย่อตัวลง งอเข่า และใช้แรงจากต้นขาแทนหลัง วิธีนี้ช่วยลดแรงกดที่กระดูกสันหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดโอกาสเกิดอาการบาดเจ็บในระยะยาว 

กิจกรรมที่ทำให้เกิดแรงกระแทกสะสม 
หลายกิจกรรมที่ดูเหมือนไม่มีอันตราย อาจทำให้กระดูกสันหลังได้รับแรงกระแทกสะสมโดยไม่รู้ตัว เช่น การนั่งบนพื้นแข็งเป็นเวลานาน การเดินหรือวิ่งบนพื้นแข็งโดยไม่มีรองเท้าช่วยรองรับแรงกระแทก หรือแม้แต่การนั่งรถที่โช๊คอัพไม่ดี สิ่งเหล่านี้อาจทำให้ข้อต่อต้องรับแรงกระแทกสะสม และเร่งให้เกิดภาวะกระดูกเสื่อมได้เร็วกว่าปกติ

1


พฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟน 
การใช้สมาร์ทโฟนเป็นเวลานานก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพกระดูกและข้อ โดยเฉพาะภาวะ “Text Neck Syndrome” หรือ อาการกระดูกคอเสื่อมจากการก้มมองหน้าจอเป็นเวลานาน 
ทุกครั้งที่เราก้มศีรษะมองจอมือถือ กระดูกคอจะต้องรับน้ำหนักศีรษะมากกว่าปกติหลายเท่า และหากทำต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจทำให้กล้ามเนื้อบริเวณต้นคออ่อนล้า และเร่งให้เกิดภาวะกระดูกเสื่อมเร็วขึ้น 
ดังนั้น การลดการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน รวมถึง การถือโทรศัพท์ให้อยู่ในระดับสายตา เป็นอีกแนวทางสำคัญในการถนอมสุขภาพกระดูกคอในระยะยาว 

แนวทางการรักษากระดูกและข้อปัจจุบันมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละคน  หากอาการไม่รุนแรงสามารถใช้ยาและกายภาพบำบัดได้ แต่หากอาการหนักขึ้น อาจต้องใช้การผ่าตัดแผลเล็ก (MIS) เพื่อลดการบาดเจ็บและฟื้นตัวเร็วขึ้น 

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ” โดยคาดว่าประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 30% ซึ่งหมายความว่า ปัญหากระดูกและข้อจะกลายเป็นภาระทางสุขภาพที่สำคัญมากขึ้น และตลอด 8 ปีที่ผ่านเรามีประสบการณ์จึงเล็งเห็นปัญหาสุขภาพเรื่องข้อที่เพิ่มขึ้นด้วย 

และเพื่อรองรับความต้องการของผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น โรงพยาบาลเอส สไปน์ จึงขยายการรักษาและการดูแลสุขภาพให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น พร้อมเป็น ศูนย์กลางการรักษาโรคกระดูกสันหลังและข้อระดับเอเชีย โดยยังคงมุ่งเน้นการใช้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย รวมถึงยกระดับมาตรฐานการให้บริการ เพื่อรองรับการเป็น Medical Hub ของประเทศไทย อย่างเต็มรูปแบบ  

สอบถามข้อมูล

อาการปวดคอ
อาการปวดหลัง
MRI

รพ. เอส ไปน์

เราเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง

ปวดหลัง ปวดคอไม่หาย
ปรึกษาเราเลย!

020340808Line ID @s-spinehospital