กระดูกสันหลังเคลื่อน เชื่อมกระดูกสันหลัง กรณีกระดูกเคลื่อนกระดูกสันหลังเคลื่อนหมายถึงภาวะที่มีการเคลื่อนของกระดูกสันหลังข้อหนึ่งเคลื่อนไปด้านหน้ามากกว่าปกติ มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยมากพบในช่วงเอวข้อที่ 4 ต่อข้อที่ 5 เพราะในข้อ 4-5นี้จะรับน้ำหนักจำนวนมากร่วมกับเป็นข้อที่มีการเคลื่อนไหวมาก

กระดูกสันหลังเคลื่อนภาวะนี้มักทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังร่วมกับมีอาการปวดร้าวลงขาได้ อาจเป็นขาข้างใดข้างหนึ่งหรือปวดขาทั้ง 2 ข้างได้ แต่ถ้าอาการรุนแรงอาจทำให้ขาชาและอ่อนแรงได้

การรักษากระดูกสันหลังเคลื่อน 

โดยทั่วไปการรักษามักทำการเชื่อมข้อ เพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของข้อไม่ให้มีการเคลื่อนมากขึ้น ร่วมกับการนำส่วนที่ทับเส้นประสาทออก โดยเทคนิคที่ทำให้เกิดการบอบช้ำน้อยนั้นจำเป็นต้องใช้เครื่องมือพิเศษ ซึ่งสกรูที่ใช้ยึด จะเป็นการใส่แบบเจาะรู (Percutaneous Screw) ร่วมกับการใช้เครื่องนำทางในการใส่screw หลังจากนั้นจะนำส่วนที่ทับเส้นประสาทออกและทำการเชื่อมข้อ โดยใส่หมอนรองกระดูกเทียม(PEEK) ผ่านทางแผลที่ทำการนำหมอนรองกระดูกและพังผืดที่ทับเส้นประสาทออก ทำให้แผลมีขนาดเล็กลง ไม่ทำลายกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยจะฟื้นตัวไว

เชื่อมกระดูกสันหลัง กรณีกระดูกเคลื่อน

กระดูกเคลื่อน มีสาเหตุและอาการอย่างไรบ้าง?

เมื่อคนเรามีอายุที่เพิ่มมากขึ้น สิ่งที่ตามมาก็คงจะไม่พ้นอาการปวดเมื่อยร่างกาย ปวดเนื้อปวดตัว ซึ่งหลายคนคิดไปเองว่านี่คืออาการตามปกติของร่างกาย หรือการเสื่อมสภาพตามช่วงวัยที่ไม่สามารถรักษาได้ ทั้งที่ความจริง อาการปวดหลังหรือกระดูกเคลื่อน สามารถเกิดได้จากการใช้งานหลังที่ผิดประเภท การอ่อนแอของกระดูกสันหลัง หรือเกิดจากความเสื่อมของกระดูก ที่ส่วนใหญ่มักพบได้ในช่วงวัย 45 ปี ขึ้นไป ซึ่งปัจจุบันมีโอกาสรักษาให้หายได้

สำหรับโรคกระดูกสันหลัง จะพบได้มากในผู้หญิงเป็นส่วนมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากร่างกายและโครงสร้างของผู้หญิงมีความแข็งแรงที่ค่อนข้างน้อยกว่าผู้ชาย จึงมีโอกาสที่หมอนรองกระดูกเสื่อมได้สูง และเมื่อหมอนรองกระดูกเสื่อมข้อต่อก็จะมีแรงกดที่มากขึ้น กระดูกจึงเคลื่อนตัวออกจากกัน

เมื่อคุณมีอาการปวดหลังเป็นประจำ นั่นคือจุดเริ่มต้นของกระดูกที่อ่อนแอ ซึ่งอาการของโรคที่ชัดเจน มักจะมีอาการชาบริเวณที่เส้นประสาทถูกกดทับ มีอาการปวดมากขึ้นเมื่อต้องเดินอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ และอาการปวดหลังจะมากจนรู้สึกได้ว่าร่างกายเดินต่อไม่ไหวแล้ว หากพบอาการดังกล่าว แนะนำให้เข้าพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายหรือขอคำปรึกษาเพิ่มเติม

แบ่งปันบทความนี้