โรคปวดคอเรื้อรัง หรือกระดูกคอเสื่อมเป็นโรคที่ใครๆ มักบอกว่าไม่มีวันหาย ส่วนใหญ่จะทนปวดมานานกว่า 10 ปี สาเหตุเกิดจากอายุมากขึ้นความเสื่อมของกระดูกคอก็จะตามมา บางรายกว่าจะรู้ตัวกระดูกคอเสื่อมไปแล้ว 3-4 จุด หากปล่อยไว้นานก็จะกลายเป็นภาวะปวดเรื้อรังซึ่งรักษาอยากขึ้น - นพ.เมธี ภัคเวช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง

สาเหตุที่แท้จริง ทำกระดูกคอเสื่อม

เมื่ออายุมากขึ้นหมอนรองกระดูกก็จะค่อยๆ ทรุดลงๆ หรือเสื่อม อาการจะเริ่มจากปวดคอเรื้อรังหรือปวดคอเป็นๆ หายๆ จะพบในกลุ่มอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป นอกจากอายุแล้วอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้กระดูกคอเสื่อมคือ การขยับคอบ่อยๆ แรงๆ จะทำให้จุดนั้นจะเกิดความเสื่อมเร็วมากขึ้น ประมาณ 80 % จะเกิดความเสื่อมที่กระดูกส่วนหลังส่วนคอที่ระดับ 5-6 เนื่องจากเป็นระดับที่ร่างกายใช้ในการหันหน้าหรือขยับคอ รองลงมาเป็นระดับที่4-5 และ6-7 ตามลำดับ

ปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคกระดูกคอเสื่อมมากขึ้นจากสถิติของโรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์เนิร์ฟ  พบว่า ตั้งแต่ปี 2561 –ปัจจุบัน มีผู้ป่วยเข้ามาทำการรักษามากขึ้นถึง 4  เท่า โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น และวัยทำงาน สาเหตุมาจากการทำงานนานโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ รวมไปถึงการก้มเล่น โทรศัพท์มือถือของคนในยุคสังคมก้มหน้า

• ปรับท่าใช้โทรศัพท์เลี่ยงกระดูกคอเสื่อม
• ยิ่งก้ม ยิ่งเสี่ยงปวดคอเรื้อรัง (Text Neck Syndrome)

รู้หรือไม่? อาการปวดต้นคอท้ายทอย ชี้ตำแหน่งหมอนรองกระดูกคอเสื่อมได้
  • หมอนรองกระดูกคอระดับ 3-4 เป็นจุดสูงสุดของหมอนรองกระดูกคอเสื่อม จะมีอาการปวดต้นคอท้ายทอยคล้ายปวดไมเกรน
  • หมอนรองกระดูกคอระดับ 4-5 ปวดคอ บ่า ไหล่
  • หมอนรองกระดูกคอระดับ 5-6  ปวดบริเวณสะบัก
  • หมอนรองกระดูกคอระดับ 6-7 ปวดบริเวณด้านในของสะบักหรือข้างล่างสะบัก
จะรู้ได้อย่างไร ว่าอาการปวดต้นคอท้ายทอย เกิดขึ้นในตำแหน่งไหน?

แม้จะรู้ว่าอาการปวดสามารถบอกตำแหน่งของการถูกกดทับได้ แต่เพื่อความแม่นยำและการหารอยโรคที่แท้จริง การทำ MRI เพราะสามารถบอกได้ว่าหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาทมากน้อยแค่ไหน หรือดูว่ากระดูกคอเสื่อมมากหรือน้อย หากเส้นประสาทถูกกดทับมากควรได้รับการรักษา หากปล่อยทิ้งไว้นานเส้นประสาทจะได้รับบาดเจ็บถาวรและอาจฟื้นคืนได้ไม่หมด

• MRI แบบยืน ค้นหาสาเหตุของคนปวดหลัง
• มาเช็กกระดูกสันหลังกันเถอะ
• หมอนรองกระดูกปลิ้นคือ?

ไม่อยากกระดูกคอเสื่อมต้องทำอย่างไร

ต้องบอกว่าข้อต่อในร่างกายของคนเราจะเสื่อมก็ต่อเมื่อใช้งานหนัก ส่วนไหนที่ใช้งานหนักก็จะเสื่อมเร็ว หากไม่อยากให้กระดูกคอเสื่อมมีวิธีหลีกเลี่ยงดังนี้
• ไม่ควรก้มหน้านานๆ ยิ่งก้มมากหมอนรองกระดูกคอจะยิ่งเสื่อม
• ไม่ควรใช้หมอนสูงในการนอน ยิ่งหมอนสูงคอก็จะพับคล้ายกับการก้มหน้า

แนวทางการรักษากระดูกคอเสื่อม

การรักษาหมอนรองกระดูกคอเสื่อมสามารถรักษาได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับรอยโรคที่เป็น หากพบความผิดปกติไม่รุนแรง ก็สามารถให้การรักษาด้วยการรับประทานยาร่วมกับการทำกายภาพบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อบริเวณคอให้แข็งแรง ในบางกรณีที่เส้นประสาทบริเวณนั้นมีอาการอักเสบแพทย์อาจแนะนำให้ใช้วิธีฉีดยาเข้าไปที่บริเวณนั้น

หากรักษาด้วยวิธีข้างต้นแล้วอาการปวดคอยังไม่ดีขึ้นการผ่าตัดเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยให้คุณหายจากโรคกระดูกคอเสื่อมได้ ในปัจจุบันเทคโนโลยีการรักษาได้พัฒนาการรักษาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่

1.การจี้เลเซอร์ หรือ LASER จะรักษาในกรณีที่ผลตรวจ MRI ออกมาพบว่าหมอนรองกระดูกคอปูดหรือนูนออกมากดทับเส้นประสาทสามารถรักษาได้ด้วยการจี้เลเซอร์ เพื่อให้ส่วนนั้นให้หดกลับเข้าไปเหมือนเดิม

2.การเจาะรูส่องกล้องบริเวณคอ หรือ PSCD วิธีนี้แพทย์จะทำการเคลียร์ทางให้เส้นประสาทแทบทุกตำแหน่งที่มีรอยกด จากข้อมูลของโรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ  แพทย์เคยรักษากระดูกคอเสื่อม 6 ตำแหน่งในครั้งเดียว เพื่อให้หายจากอาการปวดต้นคอท้ายทอย หลังรับการรักษาสามารถทำให้ใครหลายคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่วิธีนี้จะต้องมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีความชำนาญในการรักษากระดูกคอ

3.การผ่าตัดหมอนรองกระดูกคอ โดยการผ่าตัดจากด้านหน้าและเชื่อมข้อหรือ Hybrid ACDF วิธีนี้จะใช้รักษาในกรณีที่หมอนรองกระดูกคอเกิดความเสื่อมมาก หรือหมอนรองกระดูกคอปลิ้นหรือแตกออกทางด้านหน้า และทำการเชื่อมข้อกระดูกที่มีปัญหาไม่ให้เกิดการเคลื่อนไหวจนเกิดปัญหาซ้ำอีก

• ลดความเจ็บปวด ด้วยเทคโนโลยี “เลเซอร์”
• หยุดทรมานจากโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท ด้วยเทคนิค PSCD

อย่างไรก็ตามกระดูกคอเสื่อมเป็นอีกโรคหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตอย่างมาก และสามารถเป็นได้ตั้งแต่อายุไม่มาก หากเราใส่ใจสุขภาพคอ ไม่ทำพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ และหมั่นสังเกตตัวเองว่าเริ่มมีอาการปวดต้นคอท้ายทอยแล้วหรือไม่ หากพบว่ามีอาการดังกล่าวการพบแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง สามารถช่วยคุณค้นหาสาเหตุของอาการปวดที่แท้จริงได้

ข้อมูลจาก : นพ.เมธี ภัคเวช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง

แบ่งปันบทความนี้