ในปัจจุบันการรักษาโรคกระดูกสันหลังมีทางเลือกมากมาย ตั้งแต่ รับประทานยา ฉีดยา กายภาพบำบัด จนถึงการผ่าตัดในรูปแบบต่างๆ วิธีการเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของรอยโรคและอาการที่เป็นอยู่ในขณะนั้น  หากพูดถึงเรื่องการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดกระดูกสันหลังความรู้สึกของใครหลายคนคงจะบอกเป็นเสียงเดียวกันคือ “ความกลัว” และ “กังวลใจ” แม้ว่าเทคโนโลยีของการผ่าตัดจะมีวิวัฒนาการที่ทันสมัยมากน้อยแค่ไหน แม้กระทั่งแพทย์จะอธิบายขั้นตอนการรักษาว่าจะต้องทำวิธีไหนขั้นตอนเป็นอย่างไร คงต้องมีผู้ป่วยหลายราย อดที่จะกังวลใจไม่ได้เนื่องจากไม่มีใครที่จะล่วงรู้อนาคตได้เลยว่าการผ่าตัดครั้งนี้ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร หลังผ่าตัดจะกลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนเดิมหรือไม่ โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ มีข้อมูลการดูแลตัวเองก่อนการผ่าตัดกระดูกสันหลังจะต้องมีการเตรียมตัวและเตรียมใจอย่างไร เพื่อลดความกลัวและความกังวลใจที่อาจจะเกิดขึ้น ส่งผลให้ไม่สามารถสามารถผ่าตัดกระดูกสันหลังได้

เทคนิคการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดกระดูกสันหลังเพื่อลดความกลัวและกังวลใจ

1.ผู้ป่วยต้องถามตัวเองก่อนว่ามีความเข้าใจและพร้อมในการผ่าตัดครั้งนี้มากแค่ไหน หากตอบว่าพร้อมเท่ากับได้สร้างความเข้มแข็งให้กับสภาพจิตใจแล้วส่วนหนึ่ง

2.ผ่อนคลายความเครียดด้วยการนึกถึงร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง และพ้นจากความทุกข์ทรมาน สามารถลดความเครียดทางใจได้เป็นอย่างดี

3.ฝึกการหายใจอย่างถูกวิธีจะช่วยควบคุมเรื่องความกระวนกระวายใจ ความวิตกกังวลต่างๆ รวมทั้งช่วยเรื่องของระบบประสาทให้สามารถควบคุมความเครียดที่เกิดขึ้นได้

4.ออกไปพบปะผู้คนหรือการเล่นกับสัตว์เลี้ยงก็สามารถช่วยให้เกิดความรู้สึกดี และลดความเครียดหรือกังวลกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น

5.การหาข้อมูลรอบด้านจะช่วยให้สร้างความมั่นใจและลดความเครียดได้เป็นอย่างมาก อย่างเช่น
-เห็นผลตรวจที่ชัดเจนว่าต้นเหตุของอาการปวดอยู่ในตำแหน่งไหน
-สอบถามแพทย์ถึงขั้นตอนการรักษาอย่างละเอียดว่าเทคนิคการรักษานี้เหมาะสำหรับรอยโรคของคุณหรือไม่
-เครื่องมือการผ่าตัดกระดูกสันหลังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำหรับการรักษาในแต่ละเทคนิค แต่เทคนิคที่รักษาจะต้องดูว่าแพทย์ที่จะทำการรักษามีความชำนาญในการใช้เครื่องมือสำหรับการผ่าตัดหรือไม่
-ระยะเวลาในการรักษา เช่น เวลาในการผ่าตัด ,ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล และ ระยะเวลาในการพักฟื้น เป็นต้น

6.ศึกษาผลการรักษาของผู้ที่เคยมาใช้บริการ หลังจากทำการผ่าตัดกระดูกสันหลังไปแล้วมีอาการอย่างไร เนื่องจากการรักษากระดูกสันหลังในแต่ละที่จะมีความแตกต่างกันอยู่หลายอย่าง เช่น การผ่าตัดแบบเปิด การผ่าตัดส่องกล้อง โดยกล้องที่ใช้ในการผ่าตัดกระดูกสันหลังมีอยู่หลายแบบ ขึ้นอยู่กับความชำนาญของแพทย์ที่ทำการรักษา

7.การไว้วางใจทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักของการเตรียมตัวผ่าตัด

เมื่อคุณสามารถสร้างความมั่นใจให้กับตัวเองแล้วเพื่อไม่ให้เสียเวลาในการรักษาต่อไปจะเป็นเรื่องขั้นตอนเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดกระดูกสันหลัง

ขั้นตอนเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดกระดูกสันหลัง 

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดจะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจร้ายแรงถึงชีวิตรวมถึงช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้นมีดังนี้

1.งดอาหารและเครื่องดื่ม อย่างน้อย 8 ชั่วโมง ก่อนผ่าตัด ป้องกันปัญหาการสำลักเศษอาหาร

2.ตัดเล็บให้สั้น งดทาสีเล็บ เพื่อป้องกันการรบกวนเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วขณะผ่าตัด

3.งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่

4.งดโกนขนบริเวณที่จะผ่าตัดเอง

5.ทำความสะอาดร่างกาย ปัสสาวะ อุจจาระให้เรียบร้อย เพื่อลดการติดเชื้อ

6.ถอดของมีค่า และเครื่องประดับ เพราะอาจเป็นสื่อนำไฟฟ้าได้

7.ถอดฟันปลอม  (ชนิดถอดได้) หรือมีฟันโยกควรแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนที่จะทำการผ่าตัด เพื่อป้องกันการหลุดเข้าไปอุดหลอดลมขณะผ่าตัด

8.แจ้งประวัติยา หรือวิตามินที่ใช้ประจำเตรียมยา นำมาให้แพทย์ตรวจดูว่าจำเป็นต้องงดยาชนิดไหนก่อนผ่าตัดบ้าง และการแพ้ยา หรือสารต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ป่วย

9.ผู้ป่วยที่รับประทานยาต้านเกล็ดเลือด และยาละลายลิ่มเลือด ต้องหยุดทาก่อนเข้ารับการผ่าตัด 7 วัน ทุกชนิด เช่น แอสไพริน, Plavix, clopidogrel, Ticagrelor, Cilostazol , Rivaroxaban, Apixaban, Edoxaban เป็นต้น เนื่องจากยาข้างต้นส่งผลให้เลือดแข็งตัวช้า ผู้ป่วยเกิดอาการเลือดออกเพิ่มมากขึ้น การหยุดยาจะช่วยลดโอกาสการเสียเลือดระหว่างผ่าตัดได้ ยาเหล่านี้ต้องได้รับความเห็นจากแพทย์ประจำตัวก่อนว่าสามารถหยุดเพื่อทำการผ่าตัดได้หรือไม่ หากเป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็สามารถเริ่มรับประทานยา 2 วันหลังทำการผ่าตัด แต่การผ่าตัดใหญ่ หลังผ่าตัด 1 สัปดาห์ จึงจะเริ่มให้รับประทานยาได้

10.ตรวจคลื่นหัวใจ หรือ EKG  เพื่อประเมินการทำงานของหัวใจ

11.ผู้ป่วยโรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นต้องเข้ารับการตรวจประเมินความเสี่ยงกับแพทย์เฉพาะทางโรคนั้นๆ ก่อนที่จะเข้ารับการผ่าตัดทุกครั้งเพื่อลดความเสี่ยงขณะทำการรักษา

12.ผู้ป่วยที่ได้รับยาควบคุมน้ำตาลสำหรับโรคเบาหวาน ควรงดเช้าวันผ่าตัด

13.แจ้งอาการแพ้ยา อาหาร หรือสารต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ป่วย

14.ต้องแจ้งประวัติของการผ่าตัดในตำแหน่งอื่นๆ ในร่างกายให้แพทย์ทราบเพื่อแพทย์จะทำการวินิจฉัยได้อย่างละเอียด เช่นผู้ป่วยมีประวัติเลาะต่อมน้ำเหลือง รักษามะเร็งเต้านมต้องแจ้งแพทย์ หรือพยาบาลโดยไม่ต้องเจาะน้ำเกลือข้างที่เลาะต่อมน้ำเหลือง หากให้น้ำเกลือข้างที่มีการผ่าตัดจะทำให้เส้นเลือดแตกได้

15.ตรวจเลือดก่อนทำการผ่าตัด เพื่อเช็กความผิดปกติของเม็ดเลือด และเช็กระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายว่าบกพร่องหรือไม่

โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ เน้นการผ่าตัดกระดูกสันหลังโดยใช้เทคโนโลยี MIS SPINE : Minimally Invasive Spine Surgery  ทำให้แผลผ่าตัดมีขนาดที่เล็กลงปลอดภัยกว่าเดิม 30 เท่า แต่ประสิทธิภาพเท่ากับการผ่าตัดใหญ่ ทำให้เสียเลือดน้อยจึงไม่จำเป็นต้องให้เลือดและเป็นข้อดีสำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีอาการแพ้เลือดหลังผ่าตัด ไม่ต้องนอนดูอาการในห้อง ICU หลังทำการรักษา ผู้ป่วย 95 % นอนโรงพยาบาลเพียงแค่ 1 คืน ที่สำคัญผู้ป่วยสามารถรักษากับแพทย์ท่านใดก็ได้ที่อยู่ในโรงพยาบาลเอส สไปน์ฯ เพราะที่นี่ได้มีการอบรมแพทย์ในมาตรฐานเดียวกัน จากสถิติของผู้ที่เข้ามารักษากระดูกสันหลังกว่า 10,000 ราย หากจากอาการปวดอย่างยั่งยืนจึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีความกลัวและกังวลในการผ่าตัดกระดูกสันหลัง

แบ่งปันบทความนี้