หลังค่อม คอยื่น  นี่ไม่ใช่เรื่องธรรมดาแต่มันคือความผิดปกติของสรีระที่นับวันจะยิ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในโลกปัจจุบัน  หลังค่อม คอยื่น คือสรีระผิดปกติที่พบได้ทุกเพศทุกวัย  บางคนอาจหลังค่อม คอยื่น มาตั้งแต่กำเนิด บางรายอาจเริ่มมาพบปัญหาหลังค่อม คอยื่น ในช่วงวัยหนุ่มสาวหรืออาจมาพบปัญหาเมื่อถึงวัยชรา ในบางกรณีอาจร้ายแรงไปถึงเป็นโรคกระดูกสันหลังปลิ้นหรือโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน

โรคกระดูกสันลังคดไม่ใช่โรคที่เพิ่งเกิดขึ้นแต่มีมาตั้งแต่ในอดีต โดยโรคกระดูกสันหลังคดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ โรคกระดูกสันหลังคดตั้งแต่แรกเกิด,โรคกระดูกสันหลังคดจากโรคทางระบบประสาทหรือระบบกล้ามเนื้อผิดปกติ , โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุ,โรคกระดูกสันหลังคดจากท่าทางที่ผิด และโรคกระดูกสันหลังคดจากความเสื่อม

ขณะที่ อาการและความรุนแรงของกระดูกสันหลังคดแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล สังเกตได้เบื้องต้น ดังนี้
-ไหล่ทั้งสองข้างไม่เท่ากัน
-แผ่นหลังหรือหน้าอกนูนไม่เท่ากัน
-มองเห็นกระดูกสันหลังคดงอชัดเจน
-ลำตัวเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง
-สะโพกสองข้างไม่เท่ากัน
-มีปัญหาเรื่องการเดินหรือขาทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน

ยิ่งปัจจุบันในยุคไทยแลนด์ 4.0 สังคมก้มหน้า  เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ยิ่งเป็นตัวเร่งให้คนในปัจจุบันป่วยเป็น ออฟฟิศซินโดรม เท็กซ์เน็กซ์ซินโดรม (Text Neck Syndrome) โรคยอดฮิตของคนในปัจจุบันที่สำคัญโรคนี้หากไม่รักษาให้ตรงจุดอาจลุกลามจนไปถึงเรื่องของกระดูกสันหลังเสื่อมได้อย่างรวดเร็ว และอาจลุกลามไปเกี่ยวกับความผิดปกติของสรีระ คือ ไหล่ห่อหลังค่อม (kyphosis)  คอยื่น (Forward Head Posture) ได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตามปัญหาทางสุขภาพที่เกิดจากความผิดปกติของสรีระ อาจทำให้เกิดโรคหรือภาวะผิดปกติอื่นๆตามมาได้ เช่น

หากคุณเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม ร่างกายหรือสรีระของคุณจะเป็นคนนั่งหลังค่อม หลังแอ่น คอยื่น ส่งผลให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลังเป็นเวลานาน เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังและเอว นอกจากนี้แรงกดจากกล้ามเนื้อและน้ำหนักตัวส่งผลต่อหมอนรองกระดูก อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติของกระดูกสันหลัง เช่น กระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกสันหลังคด ผิดรูป หมอนรองกระดูกปลิ้นออกมาจากกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท โดยเฉพาะกระดูกสันหลังบริเวณสะโพก เป็นสาเหตุของอาการปวด ชาร้าว และกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง

และสำหรับใครที่ชอบก้มหน้าเล่นโทรศัพท์ คุณเสี่ยงจะป็นเท็กซ์เน็กซ์ซินโดรม ในทางการแพทย์เปิดเผยว่า เพียงแค่ก้มศีรษะลงไปข้างหน้า ผิดจากท่าปกติตามธรรมชาติ (คือเมื่อหูของเราอยู่ในแนวเดียวกับไหล่) เพียงแค่นิ้วเดียว น้ำหนักของศีรษะก็จะทำให้ กล้ามเนื้อ เอ็น กระดูกและเส้นประสาทในบริเวณไหล่ คอ ต้องแบกรับภาระหนักเพิ่มขึ้นมาก 2-6 เท่า น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นด้วยการถ่วงไปข้างหน้าจะไปดึงรั้งกล้ามเนื้อเส้นเอ็นทั้งหมดให้ต้องแบกรับภาระมากขึ้นตามไปด้วยอาการตึงจะเกิดขึ้นตามมาถ้าทำซ้ำๆ หลายๆ ครั้งก็จะเกิดการบาดเจ็บขึ้นได้ทั้งกับกล้ามเนื้อ เอ็น และเส้นประสาทในบริเวณดังกล่าว

ทั้งนี้หากคุณปรับพฤติกรรมได้ทันท่วงทีคุณอาจจะไม่ต้องเดินทางไปถึงจุดที่ต้องผ่าผ่าตัด อย่างไรก็ตามเราลองมาเช็คความผิดปกติของสรีระทำได้ง่ายๆด้วยตัวเอง

วิธีแรกยืนหันหลังพิงกำแพงโดยให้ส้นเท้าและหัวไหล่ชิดกำแพง  ถ้าท้ายทอยเราไม่สามารถชิดกำแพงได้แปลว่าสรีระเราเริ่มผิดปกติ หลังค่อม คอยื่น  

วิธีที่ 2 สังเกตความสูงของระดับหัวไหล่ ความนูนของกระดูกสะบัก และระดับแนวกระดูกสะโพกของร่างกาย ซึ่งมักจะมีระดับสูง-ต่ำไม่เท่ากัน ทดสอบโดยการยืนให้เท้าชิดกันและให้ก้มไปด้านหน้า ใช้มือทั้ง 2 ข้างแตะให้ถึงพื้น จะเห็นความนูนของหลังไม่เท่ากัน

เมื่อเราทราบถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหลังค่อม ไหล่ห่อ คอยื่น และผลเสียที่อาจเกิดขึ้นตามมาของภาวะนี้แล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา หรือเพื่อรักษาปัญหาที่กล่าวไปข้างต้น เราจึงควรพยายามรักษาการทรงท่าของเราให้อยู่ในลักษณะที่เหมาะสม และสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้เราสามารถรักษาท่าทางอยู่ในลักษณะที่ดีได้นั้น คือ การพยายามรักษาท่าทางให้ปกติ คอยหมั่นสังเกตท่าทางของตนเองอย่างสม่ำเสมอในแต่ละวันเช่น  รวมถึงการจัดโต๊ะทำงานให้ถูกหลักเพื่อไม่ก่อให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรม หรือปรับท่าทางในการใช้โทรศัพท์ในีวิตประจำวัน

• นั่งทำงานอย่างไร ห่างไกลโรคกระดูกสันหลัง
• ปรับท่าใช้โทรศัพท์เลี่ยงกระดูกคอเสื่อม

นอกจากนี้การยืดกล้ามเนื้อ และออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ และสะบัก ก็จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยคงความความสมดุลของกล้ามเนื้อและข้อต่อหรือปรับให้เข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งจะส่งผลให้เรามีการทรงท่าที่เหมาะสมและลดความเสี่ยงในการปวดบริเวณศีรษะ คอ บ่า และไหล่ได้อย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตามในกรณีที่สงสัยว่าเรามีปัญหาด้านกระดูกสันหลังหรือไม่ สามารถเข้ามาตรวจได้ที่โรงพยาบาลเอสสไปน์แอนด์เนิร์ฟ

ข้อมูลอ้างอิง :
Moore, K. L., Agur, A. M.R. and Dalley, A. F. 2011. Essential clinical anatomy. 4th ed. LippincottWilliams & Wolters Kluwer business, Philadelphia.

แบ่งปันบทความนี้