ในสังคมดิจิทัล โดยเฉพาะสำหรับคนวัยนั่งทำงานหลายคนกำลังตกอยู่ในภาวะ “ออฟฟิศซินโดรม” (office syndrome) ที่มีอาการปวดต้นคอ บ่า ไหล่ ปวดหลัง หรือปวดร้าวศีรษะ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการนั่งทำงานท่าเดิมนานๆ หรือนั่งไม่ถูกวิธี กล้ามเนื้อต้องเกร็งตัวเป็นระยะเวลานานๆ โดยไม่มีการผ่อนคลายส่งผลทำให้มีอาการปวดหลัง ทั้งนี้การนั่งทำงานนานๆ ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ตลอดจนทำงานหนักเกินไป อาจส่งผลร้ายแรงต่อกระดูกสันหลังของคุณในภายหลังได้ และอาจนำไปสู่โรคที่ร้ายแรงยิ่งกว่าอย่าง โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังเสื่อม และหมองรองกระดูกปลิ้นได้ และมีโอกาสที่จะกดทับเส้นประสาทที่อยู่ข้างเคียง

อย่างไรก็ตามควรหมั่นสำรวจความผิดปกติของร่างกาย หากเริ่มรู้สึกปวดหลังหรือปวดเมื่อยตามบริเวณต่าง ๆ อย่าปล่อยทิ้งไว้  และแม้ว่าท่านั่งที่ไม่เหมาะสมส่วนใหญ่มักจะมีผลกระทบต่อกระดูกสันหลังส่วนคอและส่วนเอว แต่การจัดโต๊ะทำงานให้ถูกหลักและท่านั่งทำงานที่ถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้

เก้าอี้นั่งทำงาน 

ควรเลือกเก้าอี้ที่ปรับระดับความสูงได้  และควรปรับความสูงของเก้าอี้ให้พอเหมาะ โดยสังเกตได้จากเวลานั่งทำงานแล้วเข่าสามารถงอได้ 90 องศา  แตะพื้นได้พอดี และที่สำคัญควรมีพนักวางแขน เมื่อนั่งตัวตรงแล้วศอกสามารถวางอยู่บนพนักได้พอดี หากสูงหรือต่ำเกินไปอาจทำให้มีอาการปวดหลังและเสี่ยงหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทได้

• ป้องกันปวดหลัง…ด้วยการปรับท่านั่งให้ถูกวิธี

คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

หน้าจอคอมพิวเตอร์ควรอยู่สูงกว่าระดับสายตาประมาณ 1-2 นิ้ว เพื่อคออยู่ในระดับที่ไม่ต้องก้มหน้าหรือเงยหน้ามากเกินไป และลดเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม (นอกจากนี้ยังทำให้จอประสาทตาเสื่อมอีกด้วย)

คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค

นอกจากคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะแล้ว โน๊ตบุ๊คถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่เรามักพบเห็นใครต่อหลายคนใช้ทำงาน การใช้โน๊ตบุ๊คที่ถูกต้องเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคคือปรับความสูงหน้าจอได้โดยการหาขาตั้งมาวางเสริม ก็จะช่วยให้หน้าจออยู่ในความสูงที่เหมาะสมได้ และต้องหา คีย์บอร์ดและเมาส์เสริมเข้ามาใช้แทนแป้น ด้วยเพื่อความสะดวกในการนั่งทำงาน

คีย์บอร์ดหรือแป้นพิมพ์

ควรใช้ข้อศอกเป็นจุดหมุน โดยวางข้อศอกอยู่บนพนักวางแขนตลอดเวลา พยายามฝืนตัวเองโดยการไม่ยกศอกขึ้นเวลานั่งทำงาน เพราะจะทำให้มีอาการปวดหัวไหล่ และปวดหลังตามมาได้

นอกจากนี้ ในระหว่างที่นั่งทำงานอยู่นั้นก็ควรยืดกล้ามเนื้อบ้าง ควรหมั่นลุกเดินบ่อย ๆ อย่างน้อยทุก 1-2 ชั่วโมง อาจเดินไปเข้าห้องน้ำ กดน้ำดื่ม เพื่อใช้งานกล้ามเนื้อ

ฉะนั้นการจัดโต๊ะเพื่อนั่งทำงานให้เข้ากับสรีระร่างกายของคุณเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามกันง่ายๆ ถ้าหากคุณนั่งเก้าอี้ หรือ โต๊ะทำงาน ไม่บาลานซ์กับสรีระ ยิ่งทำให้เกิดอาการปวดคอ บ่า ไหล่ สะบัก หรือปวดหลังตามมา แต่หากมีการจัดโต๊ะทำงาน ปรับอุปกรณ์แล้วยังพบว่ามีอาการปวดหลังเรื้อรังควรเร่งปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง

• ปวดหลังไม่หาย…ต้องรักษา
• ลดความเจ็บปวด ด้วยเทคโนโลยี “เลเซอร์”

ที่ โรงพยาบาล เอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังและระบบประสาท มีนวัตกรรมการรักษาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาอาการปวดหลังโดยเฉพาะ ด้วยการรักษาที่ต้นเหตุ ตรงจุด ปลอดภัย ไม่เสียเวลาพักฟื้น และกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ  โดยผู้ที่มีอาการปวดหลังได้ทานยาและกายภาพบำบัดมาแล้วยังไม่ดีขึ้น การรักษาด้วยการจี้เลเซอร์ (LASER) เป็นอีกหนึ่งวิธีของการรักษาโรคปวดหลัง และโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัดแบบเปิดแผลขนาดใหญ่เกินความจำเป็น เพราะเข็มในการทำเลเซอร์มีขนาด 1 มิลลิเมตร หรือ เท่ากับเข็มฉีดยาทำให้ความเสี่ยงลดลง และการรักษาด้วย Laser จะช่วยให้หมอนรองกระดูกที่ยื่นออกมากดทับเส้นประสาท ยุบลงได้ ซึ่งวิธีการรักษาแนวใหม่นี้ เป็นที่นิยมสำหรับคนกลัวการผ่าตัด

แบ่งปันบทความนี้