บนโลกใบนี้คงไม่มีใครที่ไม่เคยยกของ  ว่าด้วยเรื่องการยกของในชีวิตประจำวันหลายคนยังไม่ทราบว่าหากคุณยกของผิดท่า จะมีผลไปถึงกระดูกสันหลัง  นอกจากคุณจะมีอาการปวดหลัง ยังอาจนำไปสู่ภาวะโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท  และหากไม่รีบรักษาให้ทันท่วงทีอาจนำไปสู่ภาวะความพิการได้

จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2563 พบว่า ขณะที่เรากำลังก้มตัวยกของจะทำให้เกิดแรงกดต่อตัวหมอนรองกระดูกสันหลังและเกิดการบาดเจ็บที่หลังได้ จากการศึกษาพบว่าการยกของที่มีน้ำหนักมากกว่า 25 กิโลกรัม จะเพิ่มโอกาสเกิดอาการปวดหลังส่วนล่างมากขึ้น ขณะที่ท่าทางในการทำงานในลักษณะก้มเงย มากกว่า30 องศา จะเพิ่มแรงดันที่หมอนรองกระดูกสันหลังดังนั้นหากมีการก้ม ตัวบ่อย ๆ อาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บที่หมอนรองกระดูกสันหลังได้ เป็นสาเหตุให้มีอาการปวดหลังส่วนล่างตามมา

ขณะที่สถิติของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2563 พบว่าเพศหญิงร้อยละ 53.9 อายุเฉลี่ยประมาณ  30-40  ปี  มีอาการปวดหลังส่วนล่างสูงถึงร้อยละ 67.5  คือการยกของหนัก มีการก้มขณะทำงานลักษณะงานมีการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ และเก้าอี้ทำงานที่ไม่มีพนักพิง  ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงอาการเจ็บปวดที่เกี่ยวข้องกับหลังหากจำเป็นที่จะต้องยกของ ควรมีข้อปฏิบัติดังนี้

1.ยืนใกล้สิ่งของ
ยืนใกล้กับของที่ต้องการยก วางเท้าข้างใดข้างหนึ่งอยู่ข้างของที่จะยก และเท้าอีกข้างวางไว้หลังตัวเองเล็กน้อย ป้องกันการเสียสมดุลของร่างกายขณะยกของ

2.งอเข่าหลังตรง
ขณะยกของ ย่อเข่าลง ลำตัวตรง เพื่อให้น้ำหนักที่กดบนหมอนรองกระดูกสันหลังกระจายตัวเท่าๆ กัน

3.จับวัตถุให้มั่นคง
ใช้มือจับวัตถุให้มั่น ควรให้แขนชิดลำตัว ไม่กางแขนออก พยายามดึงวัตถุสิ่งของที่จะยกให้อยู่ชิดกับลำตัวมากที่สุด เพื่อให้น้ำหนักของวัตถุลงที่ต้นขาทั้งสองข้าง และเป็นการช่วยลดภาระของกล้ามเนื้อหลัง

4.ตั้งศีรษะให้ตรง
ตั้งศีรษะให้ตรงเป็นแนวเดียวกับกระดูกสันหลัง จะทำให้เรามองเห็นทางเดินได้ชัดเจนในขณะที่กำลังยกของอีกด้วย

5.ใช้กล้ามเนื้อขาช่วยในการยกของ
ยืดลำตัวขึ้นช้าๆโดยใช้แรงกล้ามเนื้อขาค่อยๆ ดันตัวขึ้น การยกของควรใช้กล้ามเนื้อหลังให้ออกแรงน้อยที่สุด จะช่วยให้น้ำหนักของสิ่งของไปยังต้นขาทั้งสองข้างและลดภาระของกล้ามเนื้อหลัง

อย่างไรก็ตาม หากมีการใช้ท่าทางยกของที่ถูกต้องแล้ว แต่หากของที่คุณยักมีน้ำหนักมากเกินไปก็ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคกระดูกสันหลังได้

• หมอนรองกระดูกปลิ้นคือ?
• ผ่าตัดส่องกล้องรักษาโรคหมอนรองกระดูกตีบตัน ด้วยเทคนิค

สุดท้ายหากทำทุกวิถีทางที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  แต่ยังไม่หายปวดหลังคุณอาจเช็กอาการเสี่ยงว่าคุณเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ดังนี้   ปวดหลังส่วนล่าง  ปวดคอ   ปวดบริเวณก้น หรือสะโพกร้าวลงขา มีปัญหาขณะก้มยกของหรือการทรงตัว ควรรีบเข้ามาปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังเพื่อหาสาเหตุของโรคได้ที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ เพราะเรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง เพื่อให้คุณหายจากอาการปวดหลังอย่างยั่งยืน

อ้างอิง :
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหลังส่วนล่างของบุคลากรสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ,วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ,กระทรวงสาธรณะสุข 2563

แบ่งปันบทความนี้