คุณรู้หรือไม่? ไอ จาม แรงๆ มีโอกาสที่ทำให้หมอนรองกระดูกแตกได้

การไอ จาม ถือเป็นกลไกหนึ่งที่สำคัญในการป้องกันสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคต่างๆ ที่เข้ามาในระบบทางเดินหายใจ โดยร่างกายจะขจัดหรือขับสิ่งแปลกปลอมที่ทำให้เกิดการระคายเคืองออกทางจมูกและปากอย่างแรงและเร็ว มักเกิดจากสิ่งแปลกปลอมเข้าไปภายในโพรงจมูก  เช่น ควัน ฝุ่น  หรือสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ ทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณเยื่อบุโพรงจมูก จนทำให้เราต้องจามออกมา ในขณะที่จามจะเกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหน้าอกและกะบังลมอย่างฉับพลันไม่ทันตั้งตัว

แม้ว่าเรื่อง ไอ จาม จะเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว แต่เชื่อว่าหลายคนยังไม่ทราบว่า หากคุณ ไอ จาม แรงๆอาจส่งผลให้ หมอนรองกระดูกสันหลังบริเวณหลังล่างแตก ได้  เพราะเรื่องของหมอนรองกระดูกแตกนั้น นอกจากจะเกิดจากพฤติกรรมการนั่งนาน  ก้มยกของ และการเกิดอุบัติเหตุ   พฤติกรรมการ ไอ จาม ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหมอนรองกระดูกสันหลังบริเวณหลังล่างแตกได้เช่นกัน โดยเฉพาะผู้ที่มีหมอนรองกระดูกเสื่อมอยู่แล้ว อาจทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นทับเส้นประสาท เกิดอาการปวดหลังล่างร้าวลงขาร่วมกับอาการชาขึ้นได้

• รู้จัก โรคปวดร้าวลงขา
• หมอนรองกระดูกปลิ้นคือ?

การไอ จามแรงๆ ในแต่ละครั้ง แม้ว่าคุณจะไอหรือจามเบาๆ จะมีอัตราความเร็วประมาณ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หากคุณจามแรงๆ จะทำให้อัตราความเร็วสูงถึง 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดังนั้นเมื่อไอ หรือจามแรงๆ ในแต่ละครั้ง จะทำให้เกิดแรงดันในช่องปอดและช่องท้องเพิ่มขึ้นจากการหดตัวอย่างรุนแรงของกล้ามเนื้อที่อยู่รายรอบลำตัวเรา ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังบริเวณหลังล่างซึ่งมีหน้าที่รับแรงกระแทก ทำงานหนักขึ้นและเกิดแรงดันที่หมอนรองกระดูกแบบฉับพลัน

และเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงแรงกระทบกระดูกสันหลังเรา เวลาเราไอ จามควรฝึกเกร็งหน้าท้องไว้  เพื่อให้หน้าท้องเรารับภาระน้ำหนักแทนกระดูกสันหลัง  จะทำให้กระดูกสันหลังรับน้ำหนักน้อยลงและไม่เกิดภาวะหมอนรองกระดูกแตกหรือหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นได้

ข้อควรปฏิบัติหากไอ-จามแล้วปวดหลัง
  1. ในรายที่อาการไม่รุนแรงหรืออยู่ในระยะเริ่มต้น แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการใช้ยาแก้ปวด
  2. หากมีอาการปวดเมื่อย แพทย์จะแนะนำให้กายภาพบำบัด และให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต
  3. หากกินยาแก้ปวด หรือกายภาพบำบัด ไม่หายการฉีดยาเพื่อระงับความปวดเข้าที่โพรงประสาท เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้ลดอาการปวดหลังได้
  4. อาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 4 – 6 สัปดาห์และมีอาการปวดร้าวลงขา แพทย์จะวินิฉัยจากผลตรวจ x-ray และMRI หากพบว่าเส้นประสาทถูกกดทับ แพทย์จะพิจารณารักษาโดยวิธีผ่าตัด โดยปัจจุบันวิธีการรักษาด้วยการเจาะรูส่องกล้อง ด้วยเทคนิค PSLD (Percutaneous Stenoscopic LumbarDecompression)

• เจาะรู้ส่องกล้องรักษาโรคหมอนรองกระดูกตีบตัน ด้วยเทคนิค PSLD

อย่างไรก็ตามเมื่อคุณมีอาการปวดหลังไม่หาย ที่โรงพยาบาล เอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ รพ.เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง มีทีมแพทย์ที่พร้อมดูแลและค้นหาสาเหตุอาการปวดของคุณ

ข้อมูลจาก :
นพ.เมธี ภัคเวช
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง

แบ่งปันบทความนี้