"นั่งทำงานบนเตียง” ฟังดูแล้วก็สบายดี แถมจะนอนเหยียดยืดท่าไหนก็ได้  ไม่น่าจะเป็นอะไร แต่ในความเป็นจริงนั้นการนั่งทำงานบนเตียงทำให้คุณเสี่ยงปวดคอ ปวดหลังเรื้อรัง จนอาจนำไปสู่โรคกระดูกสันหลังในที่สุด และยิ่งรักษาช้าคุณเสี่ยงพิการได้ในอนาคต

ข้อมูลจากกรมการแพทย์ เผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ทุกคนไม่ได้เตรียมตัวเพื่อทำงานที่บ้าน บางคนไม่อยากทำงานที่บ้านด้วยซ้ำ แต่ถูกบังคับโดยสถานการณ์ COVID-19 นอกจากนี้บรรยากาศและการถูกบังคับไม่ให้ไปไหน ทำให้ไม่มีความกระตือรือร้นที่จะทำงาน จึงมีความขี้เกียจเกิดขึ้น การทำงานบนเตียงเป็นเรื่องที่ง่ายที่สุด และกลุ่มคนทำงานอายุน้อยส่วนใหญ่ก็เลือกที่จะทำงานบนเตียงมากกว่าไปทำงานในโต๊ะรับประทานอาหาร หรือโต๊ะครัว

ขณะที่ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ยังพบว่าในเดือนพฤศจิกายน 2000 คนอเมริกัน 72% จากที่สำรวจ 1000 คน ทำงานบนเตียง ซึ่งเพิ่มขึ้น 50% ตั้งแต่มี COVID-19 ระบาด ทุกหนึ่งในสิบคนจะบอกว่าทำงานอยู่บนเตียง 24-40 ชั่วโมงหรือมากกว่าบนเตียง ซึ่งคนทำงานหนุ่มสาวอังกฤษอายุ 18-34 ปีไม่มีโต๊ะหรือเก้าอี้ทำงานที่เหมาะสม และทำงานในเตียงมากกว่าแรงงานที่อายุมากกว่าถึงสองเท่าแต่การทำงานในเตียงไม่ใช่แค่ไม่มีที่นั่งทำงานที่เหมาะสม กลับกลายเป็นแฟชั่นไป ในความเป็นจริงการทำงานบนเตียง เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาหลายอย่าง ทั้งด้านจิตใจและด้านร่างกาย แม้จะไม่รู้สึกในตอนนี้ ผลจะคงอยู่ ไปเรื่อยๆ และจะแสดงอาการในระยะเวลาต่อมา ในทางศาสตร์ในการจัดสภาพงานให้เหมาะกับคนทำงาน  หรือเออร์โกโนมิกส์ (Ergonomics)ถือว่าไม่เหมาะสมกับร่างกายทั้งนั้น

อย่างไรก็ตามการนั่งทำงานบนเตียงจะทำให้เกิดอันตรายของกล้ามเนื้อคอ หลัง สะโพก และมีอันตรายมากขึ้นเมื่อทำงานในเตียงนุ่มๆ ในคนทำงานหนุ่มสาวจะมีอันตรายมากกว่า เนื่องจากไม่ค่อยมีอาการปวดขณะทำงานบนเตียง แต่หลังจากนั้น ก็จะมีอาการของกระดูกและข้อ ซึ่งเป็นผลจากการนั่งหรือนอนทำงานบนเตียง ในอนาคตก็จะมีโรคหรือปัญหาทางเออร์โกโนมิกส์เกิดขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งรวมถึงอาการปวดศีรษะ และในที่สุดจะปวดหลังเรื้อรัง กล้ามเนื้อหลังแข็งเกร็ง ปวดคอ จากการบาดเจ็บของกระดูก เอ็นและกล้ามเนื้อที่คอ

ข้อควรรู้หากคุณหลีกเลี่ยงไม่ได้และจำเป็นต้องนั่งทำงานบนเตียง 
  1. แม้จะนั่งบนเตียงแต่ต้องพยายามนั่งหลังตรง   อยู่ในท่าเหมือนนั่งเก้าอี้ จะช่วยลดการบาดเจ็บของกระดูกและกล้ามเนื้อได้
  2. ใช้หมอนหนุนหลังเป็น lumbar support เพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อหลัง
  3. ใช้หมอนรองแขนเพื่อทดแทนพนักวางแขนของเก้าอี้
  4. พยายามแยกจอออกจาก keyboard เพื่อให้จออยู่ในระดับสายตาไม่ต้องก้มหน้ามอง (อาจใช้ remote keyboard)
  5. อย่านอนคว่ำหน้าพิมพ์งาน จะมีการบาดเจ็บที่คอและข้อศอกอย่างมาก พยายามทำงานในหลายๆท่าทาง เช่นยืนทำงานบ้าง

อย่างไรก็ตาม “อาการปวดหลัง ฟังดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติของคนในยุคปัจจุบันเพราะโรคดังกล่าวเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของทุกคน บางคนเมื่อมีอาการปวดหลังหากโชคดีเพียงทานยาหรือทำกายภาพบำบัดก็หาย  แต่มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องเข้าสู่ภาวะการผ่าตัดเพราะกว่าจะรู้ว่าตัวเองไม่ได้ปวดหลังธรรมดาแต่กลับกลายเป็นโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทก็สายเกินไปเสียแล้ว  ดังนั้นการสังเกตตัวเองและเข้าปรึกษาแพทย์เฉพาะทางให้เร็วที่สุดจะทำให้นำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด ไม่ต้องคิดไปเองว่านี่คืออาการปวดหลังธรรมดาที่เกิดจากกล้ามเนื้อหรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาทหรือไม่

• ปวดหลังไม่หาย…ต้องรักษา

สำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลังที่กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ให้มาปรึกษา ที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์เนิร์ฟ  เพราะอาการปวดอาจมีหลายสาเหตุ ดังนั้นเมื่อมีสัญญาณเตือนอาการเหล่านี้ ควรเริ่มป้องกันและค้นหาสาเหตุคือสิ่งที่ดีที่สุด และเมื่อมีอาการแล้วก็ไม่ควรปล่อยไว้นานจนเรื้อรัง เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงโรคร้ายแรงได้

แบ่งปันบทความนี้