กระดูกเคลื่อนได้อย่างไร

กระดูกเคลื่อน เรียกอีกอย่างว่ากระดูกสันหลังเคลื่อน หรือข้อกระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis) เกิดจากข้อกระดูกสันหลังข้อใดข้อหนึ่งเคลื่อนออกจากแนวกระดูกสันหลังไปทางด้านหน้ากระดูกสันหลังเคลื่อนสามารถเคลื่อนได้ทุกส่วนแต่ส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณหลังล่าง หรือ L4-L5 สาเหตุเหล่านี้จะทำให้คุณมีอาการปวดหลังจนทรมาน โดยเฉพาะเวลาขยับตัว หรือเปลี่ยนท่าทาง ภาวะกระดูกเคลื่อนนี้มักเกิดการตีบแคบของโพรงเส้นประสาทร่วมด้วย แต่ทั้งหมดนี้สามารถรักษาได้ด้วยเทคนิคยึดน็อตนำวิถีแบบ ทีลิฟ (TLIF)

เช็กอาการหน่อยว่ากระดูกสันหลังเคลื่อนหรือไม่

อาการหลักๆของกระดูกสันหลังเคลื่อนมีดังต่อไปนี้
-ปวดหลังส่วนล่างอาการปวดจะแย่ลงก็ ต่อเมื่อยืนนาน เดินไกล นั่งนาน หรือก้มตัวลงไปเก็บของ
-ปวดหลังร้าวลงก้นหรือต้นขา
-ปวดหลังชา หรือเสียวเหมือนไฟช็อต ร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง
-หากเส้นประสาทถูกกดทับนานจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง รวมถึงระบบขับถ่ายมีปัญหา

อาการเหล่านี้อาจเกิดเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งจากที่กล่าวมาข้างต้น ควรรีบมาปรึกษาแพทย์โดยส่วนใหญ่มักเข้าใจว่ากระดูกสันหลังเคลื่อนเหมือนกับหมอนรองกระดูกปลิ้น ในความเป็นจริงแล้วทั้ง 2 โรคมีอาการและสาเหตุแตกต่างกัน

หมอนรองกระดูกปลิ้นคือ?
ความเหมือนที่แตกต่าง หมอนรองกระดูกเคลื่อนกับกระดูกสันหลังเคลื่อน

ปวดหลังล่างนานแค่ไหนต้องพบแพทย์

-มีอาการปวดหลังล่างนานกว่า 3-4 สัปดาห์
-มีอาการปวดบริเวณต้นขา, สะโพกหรือก้น นานกว่า 3-4 สัปดาห์
-มีอาการปวดหลังเวลาเดินหรือยืนนาน
-มีอาการปวดหลังมากขึ้นเวลาขยับตัวตอนนอน หรือเปลี่ยนท่าทาง เปลี่ยนอิริยาบถ
-หากมีการกดเบียดเส้นประสาท ก็จะมีอาการปวดหลังล่างชา หรือเสียวเหมือนไฟช็อต ร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง

การวินิจฉัย

หลังจากแพทย์ได้ทำการตรวจร่างกาย และทดสอบด้วยการเหยียดตรงของขาแล้ว หากผู้ป่วยเป็นโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนร่วมด้วยจะไม่สามารถเหยียดขาตรงไปด้านหน้าได้ แพทย์จะส่งไป x-ray และ MRI เพื่อตรวจสอบว่ากระดูกสันหลังเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาทอยู่ ในระดับใด

4 ระดับความรุนแรงของกระดูกสันหลังเคลื่อน

ระดับที่ 1 กระดูกสันหลังเคลื่อนไม่เกิน 25%
ระดับที่ 2กระดูกสันหลังเคลื่อนตั้งแต่ 26-50%
ระดับที่ 3 กระดูกสันหลังเคลื่อนตั้งแต่ 51-75 %
ระดับที่ 4 กระดูกสันหลังเคลื่อนตั้งแต่ 76-100 %

การรักษากระดูกสันหลังเคลื่อน

การรักษากระดูกสันหลังเคลื่อนสามารถแบ่งออกเป็น

1.รักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด
การรักษากระดูกสันหลังเคลื่อนโดยไม่ต้องผ่าตัดจะขึ้นอยู่ กับอาการและระดับความรุนแรงในการเคลื่อนตัวของกระดูกสันหลัง สามารถรักษาได้ดังนี้

-หลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่เหมาะสม ที่ส่งผลทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อนเพิ่ม เช่นการยกของหนัก
-ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินค่ามาตารฐาน
-ใช้ยาแก้ปวดในกลุ่ม NSAIDs ตามแพทย์สั่ง
-ฉีดยาระงับการอักเสบที่โพรงเส้นประสาทไขสันหลัง
-ทำกายภาพบำบัดเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่ นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลาง
-ใส่สายรัดเอว หรือ LS support

2.รักษาด้วยการผ่าตัด
การรักษากระดูกสันหลังเคลื่อนด้วยวิธีการเชื่อมข้อกระดูกสันหลังบริเวณส่วนเอวด้วยเทคนิคแผลเล็กและระบบนำวิถี หรือ ทีลิฟ (TLIF:Transforaminal lumbar interbody fusion) เพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของข้อไม่ให้มีการเคลื่อนเพิ่มมากขึ้น ทำการเชื่อมข้อโดยใส่หมอนรองกระดูกเทียม ร่วมกับการขยายโพรงทางเดินเส้นประสาทที่ตีบแคบให้กว้างขึ้น ผ่านทางแผลที่มีขนาดเล็กซึ่งเทคนิคนี้ทำให้เกิดการบอบช้ำน้อยร่วมกับใช้เครื่องมือพิเศษ ซึ่งสกรูที่ใช้ยึด จะเป็นการใส่แบบเจาะรู(Percutaneous Screw) ภายใต้ระบบนำวิถี โดยไม่ทำลายกล้ามเนื้อการรักษาด้วยวิธีนี้ผู้ป่วยจะฟื้นตัวเร็วขึ้น

กระดูกสันหลังเคลื่อนรักษาได้ ด้วยเทคนิคยึดน็อตนำวิถีแบบ TLIF

ป้องกันโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนต้องทำอย่างไร

-ยืดกล้ามเนื้อให้พร้อมก่อนออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา
-ออกกำลังการเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อกลางลำตัว
-จำกัดเวลาในการเล่นกีฬาที่เพิ่มแรงตึงให้กับกระดูกสันหลัง โดยเฉพาะกีฬาที่ต้องใช้การบิดตัวมากๆ เช่น กอล์ฟ เทนนิส ยิมนาสติก หรือยกน้ำหนักเพราะอาจเสี่ยงเกิดกระดูกสันหลังเคลื่อนได้
-ไม่หักโหมเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายมากเกินไป
-ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ ในเกณฑ์สุขภาพดี

ข้อมูล :
https://www.nhs.uk/conditions/slipped-disc/
นพ.ชุมพล คคนานต์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง เส้นประสาท

แบ่งปันบทความนี้