ดูแลตัวเองจากอาการปวดเอว
ทำไม อาการปวดหลังจึงเรื้อรัง?

อาการปวดหลังหรือปวดกระดูกสันหลังส่วนเอว อาจเกิดได้จากการใช้ชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การยืน การนั่ง การนอน หรือการบาดเจ็บจากการออกำลังกาย เล่นกีฬา รวมไปถึงการเสื่อมของกระดูกสันหลังเมื่อเรามีอายุมากขึ้น

สาเหตุของอาการปวดหลังที่พบได้บ่อย

ปัญหาการปวดหลัง /บาดเจ็บที่หลังสามารถพบได้ 2 จุด ได้แก่

1.อาการปวดกระดูกสันหลังส่วนเอว

มีอาการปวดตั้งแต่บริเวณเอวขึ้นไป อาจเป็นข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง ถ้าเป็นน้อยจะมีแค่อาการปวดเมื่อย ถ้ามีอาการมากจะปวดอยู่ตลอดเวลาและมีอาการหลังแข็งเกร็งทำให้เดินตัวเอียง สาเหตุเกิดจากกล้ามเนื้อหลังที่มีการหดเกร็ง หรือมีการฉีกขาดของกล้ามเนื้อหลังบางส่วน เมื่อมีการบิดหรือเอียงตัวทันทีขณะออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา

1.1 ขั้นตอนปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการรักษา

เมื่อมีอาการปวดกระดูกสันหลังส่วนเอว ให้หยุดวิ่งทันที แล้วประคบด้วยน้ำแข็ง 10-20 นาที ให้ยาแก้ปวด ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 3 วัน ต้องใช้ยาต้านการอักเสบ และยาคลายกล้ามเนื้อประมาณ 1-3 สัปดาห์ และให้การรักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัด เช่น ความร้อน คลื่นเหนือเสียง เป็นต้น อาการจะหายไปเอง ภายใน 3 สัปดาห์ หลังจากนั้นแพทย์จะให้บริหารกล้ามเนื้อ เพื่อฟื้นฟูให้กล้ามเนื้อกลับมาแข็งแรง แต่หากผู้ป่วยไม่พักรักษาตัวระหว่างการรักษาจะทำให้โรคปวดหลังนี้เรื้อรังได้ และทำให้รักษายาก หายช้ากว่าปกติ

1.2 แนวทางป้องกันอาการปวดกระดูกสันหลังส่วนเอว

ทำได้โดยไม่เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายในบริเวณพื้นที่ขรุขระ หรือทางขึ้นลงที่สูง เพราะทำให้เกิดการบิดเอียงของหลัง และควรบริหารกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรงอยู่เสมอ

2.การบาดเจ็บที่กึ่งกลางหลังตรงกระเบนเหน็บ หรืออาการปวดสะโพกที่พบบ่อยอีกประเภท คือ มีอาการปวดเฉพาะบริเวณกึ่งกลางหลังกระเบนเหน็บมักพบในผู้สูงอายุจะมีอาการปวด เมื่อเคลื่อนไหวเอี้ยวตัวจะไม่มีอาการปวดร้าวไปจุดอื่น ถ้ามีอาการมากจะปวดตลอดเวลา สาเหตุเกิดจากการเสื่อมของกระดูกสันหลังซึ่งเป็นส่วนที่ต่อกับกระดูกเชิงกราน เนื่องจากเป็นส่วนที่เคลื่อนไหวอยู่เสมอ จึงเป็นง่ายกว่ากระดูกสันหลังส่วนอื่นๆ พบมากในผู้สูงอายุ

2.1 ขั้นตอนปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการรักษา

เมื่อมีอาการปวดขณะออกกำลังกายควรหยุดพักทันที และประคบเย็นประมาณ 10 นาที ทำการให้ยายาแก้ปวด ถ้าไม่ดีขึ้นภายใน 3 วัน อาการไม่หายไป ต้องรักษาด้วยยาต้านการอักเสบ พร้อมทั้งให้การรักษาทางกายภาพบำบัดร่วมด้วยหลังอาการดีขึ้นแล้ว เพื่อให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรงอยู่เสมอ

2.2 แนวทางการป้องกันการบาดเจ็บที่กึ่งกลางหลังของกระเบนเหน็บ

แนวทางการป้องกันจะคล้ายๆ กับการดูแลกล้ามเนื้อหลังของบริเวณบั้นเอว แต่ในสำหรับผู้สูงอายุนั้น สามารถบริหารยืดกล้ามเนื้อหลังแค่เพียงเล็กน้อยก่อนออกกำลังกายเท่านั้น

ที่ S Spine & Nerve Hospital มีนวัตกรรมการรักษาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาอาการปวดโดยเฉพาะ ที่จะทำให้การรักษาจากสาเหตุของโรคเพื่อการรักษาที่ตรงจุด ปลอดภัย และไม่เสียเวลาพักฟื้น กลับมาใช้ชีวิตได้ปกติหายขาดได้โดยไม่ต้องผ่าตัด

แบ่งปันบทความนี้