การผ่าตัดหมอนรองกระดูก ส่องกล้องรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้น

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscopic discectomy)

กล้องเอ็นโดสโคปเป็น “เครื่องมือที่ใช้ในการผ่าตัดที่มีขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ5 มิลลิเมตร มีเลนส์ติดอยู่ที่ปลาย นอกจากนี้ภายในยังมีระบบนำแสงพิเศษเพื่อช่วยในการมองเห็น และมีช่องที่จะสอดเครื่องมือไม่ว่าจะเป็น laser หรืออุปกรณ์รักษาพิเศษอื่นๆเพื่อเข้าไปรักษาในส่วนลึกที่ตาเปล่ามักมองไม่เห็น

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscopic discectomy)

หลังจากที่ผู้ป่วยดมยาสลบแล้ว  แพทย์จะทำการเจาะรูที่ผิวหนังขนาดประมาณ 0.5ซม. ข้างลำตัวหรือด้านหลัง แล้วสอดกล้องเอ็นโดสโคปผ่านทางแผลผ่าตัดเข้าไปยังเส้นประสาท เพื่อรักษาส่วนที่ถูกกดทับโดยตรง ซึ่งไม่จำเป็นต้องตัดกล้ามเนื้อออก

• หมอนรองกระดูกปลิ้นคือ?
• MRI แบบยืน ค้นหาสาเหตุของคนปวดหลัง
• มาเช็กกระดูกสันหลังกันเถอะ

กล้องเอ็นโดสโคปจะช่วยให้แพทย์มองเห็นเส้นประสาทชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากเข้าไปได้ลึกและ มีกำลังขยายในการมองเห็น ทำให้สามารถนำหมอนรองกระดูกชิ้นที่กดทับเส้นประสาทออกโดยง่าย  แพทย์สามารถเลือกตัดเฉพาะส่วนที่มีการกดทับจากหมอนรองกระดูกปลิ้น หรือการบีบรัดจากกระดูกข้อต่อตรงตำแหน่งของหมอนรองกระดูกที่เป็นปัญหา ขั้นตอนทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที จากนั้นผู้ป่วยสามารถเดินได้ทันทีหลังการผ่าตัด

 

 

ข้อดี
  • แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กเพียง 0.5 ซม. เท่ากับขนาดหัวปากกา
  • ความเสี่ยงในการติดเชื้อต่ำ
  • ลดการทำลายเนื้อเยื่อส่วนดีที่อยู่รอบบริเวณผ่าตัด
  • ผู้ป่วยฟื้นตัวหลังผ่าตัดเร็ว สามารถกลับบ้านได้ภายใน 24 ชั่วโมง
  • ไม่จำเป็นต้องให้เลือด เพราะเสียเลือดน้อยมาก
  •  ค่าใช้จ่ายต่ำกว่าวิธีมาตรฐาน เนื่องจากใช้เครื่องมือพิเศษทำให้การบาดเจ็บน้อยกว่า ระยะเวลานอนโรงพยาบาลจะสั้นกว่ามาก
ข้อเสีย
  • ใช้วิธีนี้ได้เฉพาะหมอนรองกระดูกที่เคลื่อนไม่มาก ในกรณีที่หมอนรองกระดูกเคลื่อนที่ไปไกลมาก จะไม่สามารถใช้วิธีการนี้ได้ เนื่องจากจำเป็นต้องยึดน็อตป้องกันการเลื่อน
  • การผ่าตัดด้วยวิธีนี้ต้องดำเนินการโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์และมีความคุ้นเคยกับการใช้เครื่องมือสูง จึงจะได้ผลการรักษาที่ดี และผลแทรกซ้อนน้อย
ค่าใช้จ่ายผ่าตัดกระดูกสันหลัง ด้วยเครื่องมือพิเศษ

ค่าใช้จ่ายผ่าตัดกระดูกสันหลัง ด้วยเครื่องมือพิเศษ ราคาต่ำกว่าวิธีมาตรฐาน

ด้วยเครื่องมือที่ทางโรงพยาบาลเอสเลือกใช้ เป็นเครื่องมือพิเศษจึงช่วยให้เกิดการบาดเจ็บหลังทำการรักษาที่น้อยกว่า และใช้เวลาสำหรับการนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล มีระยะเวลาที่สั้นกว่าการรักษาด้วยวิธีมาตรฐาน ซึ่งใช้ระยะเวลาในการรักษาตัวค่อนข้างนาน และทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง ผู้ป่วยจึงเสียค่าใช้จ่ายผ่าตัดกระดูกสันหลัง ในราคาที่ต่ำกว่าวิธีมาตรฐานแบบเดิม

สำหรับทางเลือกในการรักษาโรคกระดูกสันหลังนั้น แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยแบ่งออกเป็น 4 ทางเลือกต่อไปนี้
1. การจี้เลเซอร์ สำหรับรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
2. การเจาะรูส่องกล้อง รักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
3. การระงับปวดด้วยการ ฉีดยาบล็อคเส้นประสาท
4. ส่องกล้องยึดน็อตโดยเครื่องมือนำวิถี

แบ่งปันบทความนี้